การศึกษาคุณสมบัติสเปรย์ฟิล์มเคลือบแผลสารสกัดโพรพอลิสเพื่อยับยั้งเชื้อเเบคทีเรีย Staphylococcus aureus
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศุภฤกษ์ เจริญศรี, มณิสรา สิงห์นันท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นาอีม บินอิบรอเฮง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาคุณสมบัติของสเปรย์ฟิล์มเคลือบแผลจากสารสกัดโพรพอลิส เพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โครงงานนี้จะสกัดโพรพอลิส 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ผู้วิจัยได้ทำการวัดค่า MIC และวัดค่า OD ด้วย ค่าผลการทดลองที่ได้ 80%, 40% ของอาหารเลี้ยงเชื้อผสมตัวเชื้อ และ วัดค่า MBC ปรากฎว่าหาค่าที่ได้ไม่สำเร็จผู้วิจัย จึงทำการสกัดแบบที่ 2 ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าครั้งนี้สกัดได้ดีและสารสกัดสูญหายไปน้อยกว่าวิธีที่ 1 แต่สารสกัดที่ได้มีลักษณะเหนียวและยากต่อการละลายมากจึงทดสอบการละลายกับอะซิโตน และ DMSO ทั้งสองสามารถละลายได้ดี แต่เมื่อนำไปใส่ในอาหารเลี้ยงเชื้อจะทำให้เกิดการจับตัวกันเป็นก้อน และ อาจทำให้เกิดผลที่คลาดเคลื่อนในการทดสอบหาค่า MIC จึงลองใช้สารจำพวกอิมัลติไฟเออร์ผสมผลที่ได้เป็นเช่นเดิม ดังนั้นด้วยระยะเวลาที่จำกัดและผู้วิจัยไม่สามารถหาค่า MIC และ MBC ได้ทันจึงนำสารสกัดแบบที่ 2 ผสมสเปรย์กับทั้งสูตร A1, B1 ด้วยปริมาณ 5% ของสเปรย์ฟิล์มทั้ง 2 สูตร และ สเปรย์สูตรควบคุมคือ A0, B0 และ นำเสปรย์ทั้ง 4 สูตรที่ได้ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่างของสารสกัด, ระยะเวลาในการแห้งของฟิล์ม, สีและความใส, ความละเอียดของเนื้อฟิล์ม, ความยืดหยุ่น, ความสามารถในการกันน้ำ และ การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของสเปรย์ฟิมล์ โดยวิธี Agar well-diffusion
คำสำคัญ: สเปรย์ฟิล์มเคลือบแผล ( Wound coating spray ); โพรพอลิส ( Propolis );
Staphylococcus aureus; MIC; MBC; Agar well-diffusion