กำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำแบบพ็อปอัปอัตโนมัติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภาส ศรีอารักษ์, พิริษา โพธิ์เสนา, ภัณฑิรา สารรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุธิดา อรรคสังข์, ศิลปกรณ์ จันทไชย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับประชาชนรวมถึงพื้นที่จำนวนมหาศาล โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำแบบพ็อปอัปอัตโนมัติโดยใช้หลักการของแรงลอยตัว มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อออกแบบและสร้างกำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำที่สามารถขึ้นลงได้ตามปริมาตรของกำแพงกั้นน้ำ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับน้ำ ปริมาตรของน้ำและระดับกำแพงที่สูงขึ้น ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องเส้นโครงสร้างภายใน (Infill) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงอัด (Compression pressure) เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกำแพงกั้นน้ำโดยเลือกใช้โครงสร้างภายใน (infill) ชนิด Grid 10% ในการสร้างกำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำ เนื่องจากต้องการให้กำแพงเขื่อนตลิ่งป้องกันน้ำมีน้ำหนักเบาและความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำเพื่อให้กำแพงสามารถยกขึ้นมาป้องกั้นน้ำได้ ซึ่ง Infill ชนิด Grid มีความแข็งแรงในระดับดีสามารถรับแรงที่น้ำกระทำต่อกำแพงกั้นน้ำได้ โดยมีวิธีดำเนินการทดลองดังนี้ เริ่มจากการเปิดน้ำให้ระดับน้ำสูงขึ้นและเข้าสู่ห้องเก็บน้ำ มีแรงลอยตัวที่กระทำต่อกำแพงกั้นน้ำจึงทำให้กำแพงกั้นน้ำสามารถเลื่อนขึ้นเมื่อระดับและปริมาตรน้ำเพิ่มขึ้น เลื่อนลงเมื่อระดับและปริมาตรน้ำลดลงได้ 100 % ดังนั้น กำแพงกั้นน้ำนี้สามารถทำงานโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า และไม่ต้องการแรงงานคนในการควบคุม สามารถเลื่อนขึ้น-ลงโดยแรงลอยตัวของน้ำคล้ายกับลูกลอยเปิดปิดน้ำในถังเก็บน้ำ