การศึกษาวิธีสกัดสารสกัดหยาบไคโตซานจากเปลือกกุ้งเพื่อบำบัดน้ำเสีย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรชัย ชัยกานต์กุล, ณัฐนันท์ นาควิโรจน์, ศศิพิมพ์ แก้วฟู

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อ้อมฤทัย ใจอินทร์, จินดารัตน์ สุวรรณรินทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาสารสกัดหยาบไคโตซานจากเปลือกกุ้งเพื่อบำบัดน้ำเสีย

มีวัตถุประสงค์เพื่อนำสารสกัดหยาบไคไตซานจากเปลือกกุ้งมาจับและตกตะกอนสารแขวนลอยในน้ำเสีย

และเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำเสียในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยเริ่มจากการ

เตรียมเปลือกกุ้ง หั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง นำเปลือกกุ้งไปต้มกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 4% ครึ่งชั่วโมง

จากนั้นนำไปแช่สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 4% เวลา 1 ชั่วโมง นำไปกำจัดสีโดยแช่ในเอทานอล 95%

แล้วนำไปตั้มในสารละลายโซเดียมไฮครอกไซด์ 40% อีก 1 ชั่วโมงและนำเปลือกกุ้งไปอบแห้งพร้อมกับบด

จนละเอียด จะได้สารสกัดหยาบไคโตชาน จากนั้นนำสารสกัดหยาบบรรจุในแคปซูลโดยแบ่งเป็นปริมาณ

0.05, 0.20, 0.35, 0.50, 0.65, 0.80 กรัม ลงไปในน้ำเสีย 50 มิลลิลิตร จำนวน 7 บีกเกอร์ ผลการทคลองพบว่าค่า pH

ของชุดควบคุมวัดคำได้เท่ากับ 5 และวัดค่า DO ได้ 15 ppm หลังจากใส่สารสกัดหยาบไคโตซาน จะทำให้ค่า

pH เพิ่มขึ้นตามปริมาณของไคโตซานโดยปริมาน ไคโตซานที่สามารถบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีคือ 0.35 กรัม

ทำให้ค่ร DO เท่ากับ 3 ppm และปริมาณ ไคโตซานที 0.65 กรัม มีประสิทธิภาพที่สุดโดยมี pH เท่ากับ 10.3

และมีคำ DO เท่ากับ 5 ppm ซึ่งเป็นค่าที่เทียบเท่ากับน้ำที่ใช้อุปโภค ดังนั้นไคโตซานมีประสิทธิภาพและ

สามารถบำบัดน้ำเสียได้ จึงนำไปปรับใช้บำบัดน้ำเสียในชุมชนโดยไม่ส่งผลอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม