การศึกษาประสิทธิภาพการเคลือบเมล็ดพืชด้วยสารสกัดไคโตซานจากถั่วขาว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กชวรรณ จามจุรี, ธันยพร จู่ทิ่น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นุสรา คงทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการเคลือบเมล็ดพืชด้วยสารสกัดไคโตซานจากถั่วขาว เป็นโครงงานประเภททดลอง สาขาเคมี จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความบริสุทธิ์ไคโตซานในถั่วขาว โดยใช้ความเข้มข้นในการสกัดต่างกัน ศึกษาประสิทธิภาพของการเคลือบเมล็ดพันธุ์พืชของไคโตซานที่สกัดได้ ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเก็บรักษาเมล็ดพืช และการงอกของเมล็ดพันธุ์พืชที่เคลือบและไม่เคลือบไคโตซาน สกัดไคโตซานจากถั่วขาว ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อกำจัดโปรตีน ต้มในสารละลายกรดไฮดรอคลอริก เพื่อกำจัดแร่ธาตุ นำถั่วขาวมาล้างด้วยน้ำกลั่นจนเป็นกลาง แล้วอบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ให้แห้งนำถั่วขาวมาบดให้เป็นไคติน นำไคตินมาต้มในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง หรือแช่ทิ้งไว้ 1-2 วัน นำมาล้างด้วยน้ำกลั่นจนเป็นกลาง แล้วนำมาตากให้แห้ง บดให้เป็นไคโตซาน นำไคโตซานมาทดสอบทดสอบความบริสุทธิ์ หากเป็นไคโตซานที่บริสุทธิ์มาก ไคโตซานจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาวและมีความขุ่นมาก กว่าไคโตซานที่บริสุทธิ์น้อยกว่า จากนั้นนำไคโตซานมาเคลือบเมล็ดพันธุ์พืช ทดสอบประสิทธิภาพการเก็บรักษาโดยแยกเมล็ดพันธุ์พืช และทดสอบประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์พืช โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคลือบสารไคโตซาน และกลุ่มที่ไม่ได้เคลือบสารไคโตซาน นำไปเก็บที่สถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับชนิดของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ โดยให้ทั้งสองกลุ่มมีสิ่งแวดล้อมในการเก็บรักษาเหมือนกัน โดยแยกเมล็ดพันธุ์พืชออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคลือบสารไคโตซาน และกลุ่มที่ไม่ได้เคลือบสารไคโตซาน สังเกตระยะเวลาที่ใช้ในการงอกและระยะเวลาทีเมล็ดพันธุ์พืชเริ่มเสีย