การพัฒนาาถาดเพาะชำชีวภาพจากเจลแป้งมันสำปะหลังที่เสริมแรงด้วยเส้นใยผักตบชวาสำหรับการอนุบาลกล้าไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทักษพร นามวงศ์, วิลาสินี มั่งมูล, กษณะพจน์ ทศรฐ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุทัศน์ บุญเลิศ, กนกวรรณ ณ ลำพูน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในการปลูกพืชเกษตรกรมักจะนำเมล็ดไปเพาะในถาดเพาะชำก่อนเพื่อจะช่วยทำให้รากพืชแข็งแรงก่อนนำไปปลูกในดิน โดยถาดเพาะชำทำมาจากพลาสติก PE หรือ Polyethylene เนื่องจากเป็นพลาสติกที่มีความมันวาวและเหนียว ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีข้อเสียคือ ย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติและก่อให้เกิดมลพิษเมื่อกำจัดไม่ถูกวิธี คณะผู้จัดทำจึงได้นำพอลิเมอร์จากธรรมชาติ เช่น แป้ง และเซลลูโลส มาใช้ในการผลิตถาดเพาะชำชีวภาพทดแทนการสังเคราะห์พลาสติกจากปิโตรเลียม ซึ่งการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเจลแป้งมันสำปะหลังต่อ PVA และกลีเซอรอล ในการขึ้นรูปโฟมชีวภาพจากเจลแป้งมันสำปะหลัง พบว่า เจลแป้งมันสำปะหลัง 80 กรัม ผสมกับ PVA 20กรัม และกลีเซอรอล 10 กรัม เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดทั้งในด้านความหนาแน่นและความเหนียว ตอนที่ 2 ศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการขึ้นรูปถาดเพาะชำชีวภาพจากเจลแป้งมันสำปะหลังที่เสริมแรงด้วยเส้นใยผักตบชวาพบว่า ถาดเพาะชำชีวภาพที่เสริมความแข็งแรงด้วยเส้นใยผักตบชวา 25 กรัม มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุดทั้งในด้านความหนา ความหนาแน่น ความเหนียว และการดูดซึมน้ำ ตอนที่ 3 การศึกษาสารเคลือบผิวที่มีผลต่อคุณสมบัติของถาดเพาะชำชีวภาพที่ผลิตด้วยโฟมจากเจลแป้งมันสำปะหลังที่เสริมแรงด้วยเส้นใยผักตบชวา พบว่า ถาดเพาะชำชีวภาพที่เคลือบผิวด้วยน้ำตาเทียนจะช่วยเพิ่มความเหนียวและลดการดูดซึมน้ำได้ดีกว่าสารเคลือบผิวชนิดอื่น ๆ และตอนที่ 4ทดสอบการย่อยสลายได้ทางชีวภาพของถาดเพาะชำชีวภาพ พบว่า วันที่ 8 ในการทดลองถาดเพาะชำชีวภาพมีเปอร์เซ็นต์การย่อยสลายมากที่สุด จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่า โฟมชีวภาพจากเจลแป้งมันสำปะหลังที่เสริมแรงด้วยเส้นใยผักตบชวามีความเป็นได้ในการผลิตถาดเพาะชำชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้ถาดเพาะชำชีวภาพสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ลดปริมาณการให้น้ำแก่กล้าไม้ และยังช่วยส่งเสริมให้กล้าไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น