การศึกษาสมบัติเลนส์แก้วตาเทียมขึ้นรูปจาก Poly(methyl metacrylate) ผสมสารสกัดเคราตินจากขนไก่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชราวลัย กาญจนพฤกษ์, ณัฐฐานุช ขันธคีรีวัฒน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ทัศนียา มาตุการักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยพบว่ามีการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกไก่สด และเนื้อไก่แปรรูปเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน ในระหว่างการแปรรูปเกิดของเหลือทิ้งจากกระบวนการแปรรูป อาทิ เลือด เครื่องใน กระดูกไก่ และขนไก่ โดยเฉพาะขนไก่เหลือทิ้งคาดว่า มีมากถึงประมาณ 50,000 - 80,000 ตันต่อปี จากงานวิจัยพบว่าขนไก่ประกอบด้วยโปรตีนถึง85% ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนประเภทเคราติน ซึ่งสามารถพบได้ในผม ขน เขา และเล็บ อีกทั้งยังพบว่าในเนื้อเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาของมนุษย์มีองค์ประกอบของเคราติน โดยโปรตีนประเภทนี้ย่อยสลายได้ยาก และถ้าสะสมในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เคราตินมีคุณสมบัติที่สร้างความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนัง สร้างความแข็งแรง ช่วยลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) และหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกคือการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่เลนส์แก้วตาเดิม ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีเพียง Poly(Methyl Methacrylate)และ อะคริลิคที่สามารถเข้ากับตาคนได้

คณะผู้จัดทำจึงนำเคราตินที่สกัดได้จากขนไก่ผสมกับPoly(Methyl Methacrylate)เพื่อขึ้นรูปเป็นต้นแบบเลนส์แก้วตาเทียม แล้วทำการศึกษาการป้องกันรังสีUV ตรวจสอบการส่องผ่านของแสง การผ่านของอากาศและน้ำ และตรวจสอบความแข็งแรงของเลนส์ต้นแบบ