แผ่นอเนกประสงค์จากเปลือกกล้วยและยางพารา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฟารีญา เหมมา, นิสิตา นิกูโน, นูรยันนะห์ เจ๊ะสอเหาะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรินยา สวาหลัง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องแผ่นอเนกประสงค์จากเปลือกกล้วยและยางพารา เกิดขึ้นเนื่องจากบ้านของสมาชิกในกลุ่มตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี และที่ตำบลทรายขาว จังหวัดปัตตานี เป็นแหล่งผลิตสินค้า OTOP คือกล้วยเส้น ซึ่งหลังจากนำกล้วยดิบมาใช้เป็นวัตถุดิบแล้ว จะเหลือเปลือกกล้วยทิ้งเป็นจำนวนมาก เกิดการเน่าเสีย มีกลิ่น และเป็นแหล่งชุกชุมของสัตว์ที่ป็นพาหะนำโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการอยู่อาศัย

ทำให้กลุ่มข้าพเจ้าเกิดแนวคิดว่า เปลือกของกล้วยดิบอาจจะสามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์ได้ จึงคิดนำเอาเปลือกกล้วยดิบมาผลิตเป็นแผ่นอเนกประสงค์ หากโครงงานประสบความสำเร็จ นอกจากจะเพิ่มรายได้ และทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังจะเพิ่มราคาให้เปลือกกล้วย และลดปริมาณขยะซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงนำโรค ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นก่อความลำคาญที่เกิดกับชุมชนได้อีกด้วย

เนื่องจากโครงงานนี้เคยเกิดขึ้นแล้วแต่ใช้กาวเป็นตัวประสาน กลุ่มข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดเปลี่ยนตัวประสานเป็นยางพารา สืบเนื่องมาจากยางพารามีราคาถูก มีคุณสมบัติเยี่ยมด้านการเป็นตัวประสานที่ดี ยืดหยุ่นสูง มีค่าแรงทนทานต่อแรงดึงสูง และมีความทนต่อการฉีกสูง แต่กาวมีราคาสูงและมีคุณสมบัติยืดหยุ่นน้อยกว่ายางพารา กลุ่มข้าพเจ้าจึงนำโครงงานมาพัฒนาโดยการเปลี่ยนตัวประสานเป็นยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ และในปัจจุบันราคายางพาราลดลง จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่ายางพาราโดยการนำยางพารามาเป็นตัวประสานในแผ่นอเนกประสงค์ ที่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง และลดต้นทุนการผลิตได้