การศึกษาประสิทธิภาพผิวหนังเทียมจากคอลลาเจนและสารสกัดจากขมิ้นชันเพื่อยับยั้งเชื้อที่เป็นเหตุของการเกิดแผลไฟไหม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิชชาวดี คำพา, กมลชนก ศศินันทเจริญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ทวีศักดิ์ เปี่ยมทัพ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในประเทศไทยมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับมีแผลไฟไหม้หรือแผลน้ำร้อนลวกโดยที่แผล
ไฟไหม้หรือแผลน้ำร้อนลวกนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ แผลไหม้ระดับแรก (First degree burn) การไหม้
จะจำกัดอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น โดยบาดแผลจะแดงแต่ไม่มีตุ่มพอง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อน
โดยแผลประเภทนี้จะต้องใช้ระยะเวลารักษาประมาณ 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้ออักเสบกรณีที่พบ คือ การไหม้จากแสงแดด เช่นผู้ป่วยไปตากอากาศ ไปชายทะเลมาเกิดภาวะ sun burn การถูก
น้ำร้อน ไอน้ำเดือดหรือวัตถุที่ร้อนเพียงเฉียดๆและไม่นาน แผลไหม้ระดับที่สอง (Second degree burn) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิดคือ บาดแผลชนิดตื้นที่เกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น ทั้งชั้นผิวนอก ชั้นในสุดและ
หนังแท้ ส่วนที่อยู่ตื้นๆ (ใต้หนังกำพร้า) แต่ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้ จึงหายได้เร็วและไม่เกิดเป็นแผลเป็นเช่นกัน ยกเว้นถ้ามีการติดเชื้อ กรณีนี้มักเกิดจากถูกของเหลวลวกหรือถูกเปลวไฟ บาดแผลโดยรวมจะ
มีลักษณะมีตุ่มพองใส ถ้าลอกเอาตุ่มพองออก พื้นแผลจะมีสีชมพูชื้นๆมีน้ำเหลืองซึม ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดแสบมาก
เพราะเส้นประสาทบริเวณผิวหนังยังเหลืออยู่โดยแผลจะหายได้ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
เพื่อไม่เกิดแผลเป็นและบาดแผลระดับลึกจะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นของหนังแท้ส่วนลึก ลักษณะบาดแผลจะตรงกันข้าม
กับบาดแผลชนิดตื้น คือ จะไม่ค่อยมีตุ่มพอง, แผลสีเหลืองขาว, แห้งและไม่ค่อยปวด บาดแผลชนิดนี้มีโอกาส
เกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มาก หากไม่มีการติดเชื้อซ้ำ โดยแผลมักจะหายได้ภายใน 3-6 สัปดาห์และสุดท้ายคือแผลไหม้
ระดับที่สาม (Third degree burn) บาดแผลไหม้จะลึกลงไปจนทำลายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้ง
ต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผลอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก
บาดแผลจะมีลักษณะขาวซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนังแห้งและกร้าน อาจเห็นรอย
เส้นเลือดอยู่ใต้แผ่นหนานั้น และเนื่องจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณผิวหนังแท้ถูกทำลายไปหมดทำให้แผลนี้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ซึ่งการรักษาโดยใช้ผิวหนังเทียมในต่างประเทศนั้นมีราคาต้นทุนสูงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อของ ในประเทศไทยมีงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ผิวหนังสังเคราะห์จากวัสดุชีวภาพเช่น หนังวัว( ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ , The Development of Artificial Skin,2551 )โดยในปัจจุบันมีผิวหนังเทียมจากสารชีวภาพคือผิวหนังวัวอย่างที่กล่าวมาแต่ก็ยังมีข้อเสียคือ หนังวัวมีความหนามากทำให้ยากต่อการสกัดคอลลาเจนออกจากหนังวัวและเสี่ยงต่อการพบเจอเชื้อวัวบ้าซึ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการทำผิวหนังเทียมจากหนังปลานิลซึ่งก็มีข้อเสียคือเสี่ยงต่อการติดเชื้อจึงเป็นที่มาและเหตุผลที่คณะผู้จัดทำสนใจในการทำโครงงานเรื่องการศึกษาประสิทธิภาพผิวหนังเทียมจากคอลลาเจนและสารสกัดจากขมิ้นชันเพื่อยับยั้งเชื้อที่เป็นเหตุของการเกิดแผลไฟไหม้เพราะขมิ้นชั้นมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยให้สมานแผลได้ดี (บัญชียาหลักแห่งชาติ 2556 : ออนไลน์)