ฟิล์มดูดซับแก๊สคาร์บอนได้ออกไซด์จากชานอ้อย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุรางคณา ชินดา, กุศลสิริ โทนุการ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระวุฒิ จันทะพันธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยโดยเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลทราย ชานอ้อยส่วนใหญ่ได้ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศและเป็นการเพิ่มปริมาณแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นว่าชานอ้อยยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ จึงได้ทำฟิล์มดูดซับแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาขยะและภาวะโลกร้อน โดยวิธีการดำเนินคือนำชานอ้อยเหลือใช้มาสกัดเซลลูโลสด้วยกระบวนการคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือที่เรียกกันว่า ซีเอ็มซี(carboxymethylcellulose, CMC) นำเซลลูโลสที่ได้มาทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ,กรดโมโนคลอโรแอซีติกและเติมสารซีโอไลท์ เทใส่แม่พิมตั้งทิ้งไว้เพื่อให้เกิดการคงสภาพจะได้ฟิล์มดูดซับแก็สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา