มันก็จะเป็นการพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้จากกากมะพร้าวร่วมกับกากกาแฟโดยใช้น้ำยางพาราเป็นวัสดุประสาน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เอกรัตน์ รุ่งศรีสุทธิวงศ์, นรัญญา รุจนเวชช์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศุภลักษณ์ ห้วยหงษ์ทอง, ขุนทอง คล้ายทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คนไทยส่วนใหญ่นั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำให้มีสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรอยู่หลากหลายชนิด โดยจะให้ได้ว่าการเพาะปลูกนั้นสำคัญ โดยในการปลูกพืชในอุตสาหกรรมการเกษตรแล้วจำเป็นต้องใช้ถุงเพาะชำเพื่อให้ต้อนอ่อนของพื้นนั้นเจริญเติบโตได้ดี แต่ในปัจจุบันนั้นถุงเพาะชำได้ทำมาจากพลาสติกดำซึ่งย่อยสลายได้ยาก เมื่อไม่เกิดการย่อยสลายก้จะเกิดผลกระทบต่อธรรมชาติและปัญหามลพิษตามมา การใช้วัสดุจากธรรมชาตินั้นช่วยในการลดมลพิษและยังสามารถย่อยสลายเช่น ถุงเพาะชำจากกากมะพร้าวร่วมกับกากกาแฟโดยใช้น้ำยางเป็นวัสดุประสาน การทำถุงเพาะชำที่ย่อยสลายได้นั้นต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติซึ่งต่องมีความแข็งแรงและย่อยสลายแล้วให้แร่ธาตุแก่พืช โดยคุณสมบัติดังกล่าวอยู่ในกากมะเพร้าวและกากกาแฟซึ่งสามารถเสริมความแข็งแรงและให้แร่ธาตุในดินได้ ด้วยเหตุผลข้างต้นผู้จัดทำจึงสนใจในการพัฒนาถุงเพาะชำย่อยสลายได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตถุงเพาะชำที่เสริมด้วยกากมะพร้าวร่วมกับกากกาแฟ เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านการย่อยสลายของถุงเพาะชำที่เสริมด้วยกากมะพร้าวและกากกาแฟและเพื่อศึกษาปริมาณสารตัวเติมที่เหมาะสมในการผลิตถุงเพาะชำ โดยวิธีในการดำเนินการมีดังนี้การขึ้นรูปถุงเพาะชำในอัตราส่วนที่กำหนดไว้และทำให้แข็งตัวดวยวิธีการอบด้วยเครื่องอบลมร้อน จากนั้นนำมาทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆอาทิเช่น ทดสอบการอัตราการ

ย่อยสลาย หรือการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ ซึ่งคาดว่าจะได้รับสูตรที่เหมาะสมแก่พืชในการปลูกได้ ได้ถุงเพาะชำที่ย่อสลายได้จริงและในแร่ธาตุแก่พืช