การศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตกของลูกยางนา เพื่อหาความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของน้ำหนักและความยาวปีก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิรรัตน์ ยังประดิษฐ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
มณธิชา คล้ายแก้ว, ศุภสฤษฎ์ ชาปัญญา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อหาความสัมพันธ์ของระยะเวลาที่ใช้ในการตกกับน้ำหนักและความยาวปีกของลูกยางนาเพื่อนำมาเขียนสมการและนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยมีการทดลองคือการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการตก น้ำหนักและค่าเฉลี่ยความยาวปีกของลูกยางนา จำนวน 38 ลูก ทำการทดลองปล่อยลูกยางนาที่ความสูง 5 เมตร 30 เซนติเมตร นำข้อมูลมาเขียนกราฟและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จากสมการตามรูปแบบกราฟต่างๆ มีผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1.ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ใช้ในการตกกับน้ำหนักของลูกยางนาเขียนกราฟได้เป็นแบบเส้นตรง จึงได้สมการคือ y=3.6307x-0.2418 เมื่อ y แทนระยะเวลาในการตกของลูกยางนา และ x แทนน้ำหนักของลูกยางนา โดยตัวแปร y เป็นตัวแปรที่ขึ้นกับค่าตัวแปร x
2.ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการตกกับค่าเฉลี่ยความยาวปีกของลูกยางนาเขียนกราฟได้เป็นแบบเส้นตรง จึงได้สมการคือ y=1.1914x-0.1389 เมื่อ y แทนระยะเวลาในการตกของลูกยางนา และ x แทนค่าเฉลี่ยความยาวปีกของลูกยางนา โดยตัวแปร y เป็นตัวแปรที่ขึ้นกับค่าตัวแปร x
จากการทดลองและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระยะเวลาในการตกกับน้ำหนักของลูกยางนามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -0.2617 และ ระยะเวลาในการตกกับค่าเฉลี่ยความยาวปีกของลูกยางนามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.2654 แสดงว่าระยะเวลาในการตกกับน้ำหนักมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใกล้เคียงกับระยะเวลาในการตกกับค่าเฉลี่ยความยาวปีกโดยที่ระยะเวลาในการตกกับน้ำหนักเป็นสหสัมพันธ์ทางลบแต่ระยะเวลาในการตกกับค่าเฉลี่ยความยาวปีกเป็นสหสัมพันธ์ทางบวก