ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพละลายช้าเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังสำหรับดินปลูกพืชไร่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

หทัยชนก ชามาตย์, ฌัชฌา สุริยเรืองศิริ, อานาปานัส จินรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีรยุทธ ทองแดง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากปุ๋ยปลดปล่อยธาตุอาหารที่เร็วเกินไปส่งผลให้เกิดการชะล้างจากดิน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพละลายช้า โดยมีการศึกษาดังนี้คือ การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปริมาณธาตุอาหารของดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยมูลวัว มูลหมู และกากตะกอนอ้อย และปริมาณความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง ศึกษาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาองค์ประกอบและอัตราส่วนที่เหมาะสมในการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพละลายช้า ศึกษาสารเคลือบที่เหมาะสมในการทำปุ๋ยละลายช้า ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพละลายช้ากับปุ๋ยเคมีตามท้องตลาด ซึ่งผลจากการทดลองจะได้ว่าปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพละลายช้าทำให้มันสำปะหลังได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่