โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระสุนพระอินทร์ : ทางเลือกใหม่ของการย่อยสลายสารอินทรีย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นุชจรี พลีใส
สุธาทิพย์ พรหมศิริ
ไพศาล แซ่จึง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วราภรณ์ พงษ์พานิช
วิชยา มีวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระสุนพระอินทร์
สารอินทรีย์การย่อยสลาย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระสุนพระอินทร์ : ทางเลือกใหม่ของการย่อยสลายสารอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลในการย่อยสลายสารอินทรีย์และเปรียบเทียบการย่อยสลายสารอินทรีย์ระหว่างกระสุนพระอินทร์กับไส้เดือนดิน เพื่อนำความรู้จากสัตว์หน้าดินมาใช้ประโยชน์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยแบ่งการทดลองเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เปรียบเทียบการย่อยสลายสารอินทรีย์ระหว่างไส้เดือนดินและกระสุนพระอินทร์ พบว่า ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันกระสุนพระอินทร์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ดีกว่าไส้เดือนดิน ตอนที่ 2 เปรียบเทียบชนิดของสารอินทรีย์ (ใบไม้แห้ง) ที่มีผลต่อการย่อยสลายของกระสุนพระอินทร์โดยเลือกศึกษาใบพืช 5 ชนิด คือ ใบสุพรรณิการ์ ใบมะค่าแต้ ใบมะม่วง ใบลำไย และใบประดู่แดง พบว่า กระสุนพระอินทร์สามารถย่อยสลายใบประดู่แดง ได้ดีที่สุด ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่มีผลต่อการย่อยสลายของตัวกระสุนพระอินทร์ พบว่า กระสุนพระอินทร์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาก (โดยการรดน้ำลงในดินเพื่อให้ดินและอากาศมีความชื้นมาก)ดีกว่าในอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ตอนที่ 4 เปรียบเทียบอุณหภูมิของอากาศที่มีผลต่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ของกระสุนพระอินทร์ พบว่า สภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิคงที่ 25 C กระสุนพระอินทร์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ดีกว่าสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิไม่คงที่