โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องประสิทธิภาพตัวกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบิสกิต เถ้าเปียก และเถ้าลอย

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เรื่อง ประสิทธิภาพตัวกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบิสกิต เถ้าเปียกและเถ้าลอย จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์ตัวกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำ โดยผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงในตัวกระจาย แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำจากบิสกิต เถ้าเปียก และเถ้าลอย ที่มีรูพรุนขนาดเล็ก เพื่อให้ฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายน้ำได้ดีขึ้น และเป็นการนำ บิสกิตซึ่งเป็นเศษเซรามิกที่เสียจากการเผาครั้งแรก ในกระบวนการผลิตเซรามิก จากโรงงานเซรามิก เถ้าเปียก และเถ้าลอย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยหาส่วนผสมของ บิสกิต เถ้าเปียก และเถ้าลอย ในอัตราส่วนต่างๆ เชื่อมด้วยตัวประสานแล้วนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 8 ชั่วโมง เพื่อความแข็งแรงทนทาน จากนั้นผ่านแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในตัวกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่จุ่มอยู่ในน้ำ วัดค่า pH ของน้ำที่เปลี่ยนไป และวัดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหยออกจากน้ำ จากการทดลอง พบว่า บิสกิตสามารถปรับสภาพความเป็นกรด – เบสของน้ำได้ และตัวกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีความแข็งแรงทนทานเมื่อผ่านการเผาที่ อุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียสซึ่งสามารถกระจายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำได้ดีที่สุด คือ สูตรที่ประกอบด้วย บิสกิต ขนาดประมาณ 0.10 – 0.20 เซนติเมตร ในอัตราส่วน 9: 1

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ปิยาภรณ์ เชี่ยววานิช

  • ภัทรพร สุทธิพรมณีวัฒน์

  • วิชญาพร กุลยวง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ทวีวัฒน์ มณีจักร์

  • รัชนก สุวรรณจักร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลขมเชย ประเภทวิทย์กายภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • คาร์บอนไดออกไซด์การกระจาย

  • บิสกิต

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์