โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องซิลิกาจากแกลบ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบว่าวัสดุธรรมชาติชนิดใดสามารถนำมาสกัดซิลิกาได้ ศึกษาคุณลักษณะและปริมาณซิลิกาที่สกัดได้จากแกลบและขี้เถ้าแกลบโดยไม่ผ่านการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณซิลิกาที่สกัดได้จากแกลบชนิดต่างๆ ที่ผ่านการต้มกับกรดไฮโดรคลอริกที่มีความเข้มข้นต่างๆ กัน ในเวลาเท่ากัน และผ่านการเผาจากเตาอิฐชัยถาวรและนำเอาซิลิกกาที่สกัดได้มาใช้ประโยชน์ จากการศึกษาพบว่าวัสดุธรรมชาติที่ไม่สามารถสกัดซิลิกได้คือ เปลือกแห้ว และซังข้าวโพด ส่วนที่สกัดซิลิกาได้คือ ฟางข้าวส่วนลำต้น ใบ รวงข้าว และแกลบ ซึ่งตรวจสอบว่าใช่ซิลิกาหรือไม่โดยเครื่องมือเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซื แกลบให้ซิลิกาสูงสุดคิดเป็น 23.2% รองลงมาคือฟางข้าวส่วนลำต้น 7.8% ฟางข้าวส่วนใบ 7.3% และต่ำสุดคือฟางข้าวส่วนรวง 5.7% และสำหรับขี้เถ้าแกลบ และแกลบไม่ผ่านการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก ขี้เถ้าแกลบให้ซิลิกาสูงถึง 68.2% มากกว่าแกลบ (23.7%) ทั้งสองชนิดนี้ซิลิกาที่ได้มักมีสีขาวขุ่น สำหรับการสกัดซิลิกาจากแกลบใหม่ แกลบกลาง และแกลบเก่า โดยผ่านการต้มกับกรดไฮโดรคลอรืกที่มีความเข้มข้นต่างๆ กัน ด้วยวิธีการ Reflux พบว่าแกลบเก่าให้ปริมาณซิลิกาสูงสุดในทุกความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก และถ้าใช้กรดที่มีความเข้มข้น 1 mol/dm จะได้ปริมาณซิลิกาสูงสุดคิดเป็น 24.7% ซิลิกาที่ได้เป็นเส้นๆ สีขาวบริสุทธิ์ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่าซิลิกาจากแกลบสามารถใช้ทำคอลัมน์โครมาโทกราฟีและใช้เป็นสารดูดความชื้นได้ดี นอกเหนือจากประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมซึ่งมีมากมาย นอกจากนี้ซิลิกายังมีคุณสมบัติละลายได้ดีในกรดไฮโดรฟลูออริก (กรดกัดแก้ว) ด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชูเกียรติ โสตถิสุพร
ลัดดาวัลย์ บัวสังข์
แสงสูรย์ ทวีกิจการ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิตยา ทวีกิจการ
ประดิษฐ์ ไชยศรี
ปรีดา พิมพ์ขาวขำ,ร.ศ.
สมพร คู่ปิตุภูมิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8 (22) p75
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ซิลิกา
แกลบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์