โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องบาติกไร้เส้น

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "บาติกไร้เส้น" ทำขึ้นเพื่อศึกษาสารเคลือบผ้า ที่ป้องกันสีซึมในการเขียนผ้าบาติก แบ่งการทดลองออกเป็น 6 การทดลอง การทดลองแรกศึกษาชนิดของสารเคลือบผ้า ผลการทดลองพบว่าถั่วเหลือง ถั่วเขียว และแป้งมันต้ม สามารถเป็นสารเคลือบผ้าที่สามารถทำให้สีติดผ้าได้ดี และซึมน้อยมาก การทดลองต่อมา ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารเคลือบผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนระหว่างสารเคลือบ ต่อน้ำ 1: 3 จะสามารถเขียนผ้าบาติกและซึมน้อยที่สุด การทดลองต่อไป ฝสึกษาเวลาในการแช่สารเคลือบผลการทดลองพบว่า เวลา35 นาทีจะทำให้สีซึมได้น้อยและสามารถเขียนผ้าบาติกได้ดี การทดลองต่อมาศึกษาความเข้มข้นของสี ผลการทดลองพบว่าสีที่มีความเข้มข้นมากจะซึมน้อย และสามารถทำให้สีของผ้าบาติกมีสีสดใสต่อมาศึกษาชนิดของผ้า 3 ชนิด ผ้ามัสลินสามารถเขียนได้ดีในผ้าเคลือบถั่วเหลืองทั้งที่ต้มและไม่ต้ม ส่วนผ้าไหมฟูจิ สามารถเขียนได้ดีในผ้าที่สารเคลือบถั่วเหลือง ถั่วเขียว และแป้งมัน ตามลำดับ ผ้าฝ้ายอินโดสามารถเขียนได้ดีในสารเคลือบถั่วเขียวและแป้งมันต้ม ส่วนการทดลองเวลาในการแช่โซเดียมซิลิเกตผลการทดลอง เวลาในการแช่มีผลน้อยมากในการทำให้สีนั้นตกน้อย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จุฑารัตน์ วราธิติกร

  • นงนุช ช่วยชู

  • สุกัลยา ขนานสุขสวัสดิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนตะโหมด

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • การพิมพ์ลายผ้า

  • ผ้า

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์