โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการขยายพันธุ์คะน้าใบจำนวนมากโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จามรี วัชรพันธุ์
ณรงค์เดช คงสุวรรณ
พนิดา ละอองจิต
ศักดิ์ดา แก้วสองเมือง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย ทั่วไป ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2537 5 (14) p84
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
คะน้า
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทดลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนยอดของคะน้าใบ (Brassica alboglabra Bailey) ในตระกูล Cruciferac ในอาหารสูตร MS ที่มีไซโตไคนิน (BA) 1มก./ล. 1เดือน พบว่าเจริญเป็นตายอดใหม่ได้จำนวนมากมาย เมื่อนำตายอดเหล่านั้นมาเลี้ยงในอาหารสูตร MS ที่มีสัดส่วนของปริมาณฮอร์โมนไซโตไคนินต่อออกซิเจน (BA : IAA) ที่แตกต่างกัน 5 สูตรพบว่าสัดส่วนของฮอร์โมนทั้งสอง 1 : 6 สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ร้อยละ 100 สัดส่วน BA : IAA = 1:1 ทำให้ความยาวของยอดเจริญได้ดีมากที่สุด 4.36 ซม. สัดส่วนฮอร์โมน 1:4 จะทำให้มีการขยายของเซลล์ได้ดีโดยพบว่าใบจะมีความกว้างโดยเฉลี่ยมากที่สุด 7.5 ม.ม. และสัดส่วนของ BA : IAA = 1:4 - 1:6 ทำให้เกิดรากได้ดังนั้นจึงเห็นว่าฮอร์โมนทั้งสองร่วมเข้าไปในสัดส่วนที่เหมาะสมจะทำให้พืชเจริญและพัฒนาในด้านต่างๆ ได้