โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาปริมาณแอนโทไซยานินและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของเปลือกลูกเนียงและปลีกล้วยด้วยวิธี pH-different spectrometric และ DPPH

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กุสุมา สง่ากอง

  • ปิยวรรณ วิเศษ

  • สกายมาศ พราห์มณี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทกายภาพภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปลีกล้วย

  • ลูกเนียงเปลือก

  • อนุมูลอิสระ

  • แอนโทไซยานิน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แอนโทไซยานินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ พบมากในพืชที่มีสีหลายชนิด โดยเฉพาะพืชที่มีสีม่วง และสีแดง จึงได้ทำการศึกษาปริมาณแอนโทไซยานิน ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอนโทไซยานิน ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ และแนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าและการพัฒนาต่อยอดในเชิงพานิชย์ จากการศึกษาบางส่วนของพืชและผลไม้ในท้องถิ่น จำนวน 7 ชนิด คือ ปลีกล้วย เปลือกแครอท เปลือกลูกเนียง เปลือกกระกำ เปลือกมะไฟแดง เปลือกแก้วมังกร และเปลือกมันเทศ จากการหาปริมาณแอนโทไซยานีนด้วยวิธี pH-differential spectrometric พบปริมาณสารแอนโทไซยานีนในช่วง 0.17-2.16 mg./100 mg. ของน้ำหนักสด ซึ่งเปลือกลูกเนียง และปลีกล้วย มีปริมาณของแอนโทไซยานีนสูง ตามลำดับ จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารแอนโทไซยานีน ได้แก่ อุณหภูมิ และเวลา จากผลการศึกษา สามารถความรู้ที่ได้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่จากเปลือกลูกเนียง ชาจากปลีกล้วย และแชมพูจากเปลือกลูกเนียงและปลีกล้วย ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าและเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดในเชิงพานิชย์ต่อไป