โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุ “CMC” จากเปลือกผลไม้ในท้องถิ่น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ณัฐวุฒิ พันธุ์เพิ่มพูล

  • พรพิมล ศรีคาวี

  • เปี่ยมจิตร นางหลาด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชนินทร์ ตันพิพัฒน์

  • วรรณา หมุนขำ

  • วรวุฒิ สุขเอียด

  • สมจิต หมุนขำ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ทุเรียนเปลือก

  • วัสดุ CMC

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวัสดุ “CMC” จากเปลือกผลไม้ในท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของเปลือกผลไม้ที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยเซลลูโลส ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสมต่อการสกัดเส้นใยเซลลูโลสได้แก่ ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์และระยะเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยเซลลูโลส ศึกษาชนิดของพลาสติไซเซอร์และอัตราส่วนที่เหมาะสมในการแปรรูปเยื่อเซลลูโลสเป็นวัสดุซีเอ็มซีต่างๆ และประสิทธิภาพของวัสดุที่ได้ จากการศึกษาพบว่าเปลือกทุเรียนเหมาะสมที่สุด เส้นใยที่ได้มีความเหนียว เปื่อยยุ่ยได้เร็ว และให้ค่าน้ำหนักแห้งที่มากสุดเท่ากับ 2.03 g ± 0.65 และปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสมในการสกัดเส้นใยเซลลูโลสพบว่า ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมคือ 6 M ใช้เวลาสกัด 90 นาที ส่วนชนิดของพลาสติไซเซอร์และอัตราส่วนที่เหมาะสมพบว่าพอลิเอทิลีนไกลคอนเหมาะสมที่สุด เนื่องจากแผ่นเยื่อเซลลูโลสที่ได้จะแห้งเร็ว มีการยึดเกาะเป็นแผ่นได้ดี มีค่าความเค้น 12.7 kPa ที่ความเข้มข้น 0.15 M และมีอัตราส่วนระหว่าง CMC_c : CMC_d เท่ากับ 0.8 : 0.2 (w/w) จำนวน 40 ml : เยื่อเซลลูโลส 10 ml และสามารถนำแผ่นเยื่อเซลลูโลสมาแปรรูปเป็นวัสดุซีเอ็มซี ประเภทถุงกระดาษ เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ทดแทน ถุงพลาสติกได้ โดยวัสดุซีเอ็มซีดังกล่าวมีค่าความเค้น 23.96 kPa สามารถสลายตัวเปื่อยยุ่ยในน้ำและการฝังกลบในดินได้อย่างรวดเร็ว โดยเริ่มพองตัวและเปื่อยยุ่ยเมื่อสัมผัสตั้งแต่วันที่ 1 เป็นต้นไป จึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป