โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาแนวทางป้องกันผมหงอกก่อนวัยด้วยพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นภัสสร อินทรสุวรรณ์
วสวัตติ์ ทิ้งบริรักษ์
วิภาวรรณ วังเมือง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลเชิดชูเกียรติ ประเภทชีวภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผมหงอกการป้องกัน
สมุนไพร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาแนวทางป้องกันผมหงอกก่อนก่อนวัยด้วยพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่น โดยศึกษาการทำปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์คะตะเลสที่ปลายรากผมกับ H2O2 ศึกษาชนิดของพืชผักสมุนไพรที่สลาย H2O2 ได้ดีที่สุด ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์คะตะเลสในการสลาย H2O2 ได้แก่อุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ส่วนต่างๆของพืชผักสมุนไพร และศึกษาแนวทางการแปรรูปพืชผักสมุนไพร เพื่อลดการเกิดผมหงอกก่อนวัย พบว่าเอนไซม์คะตะเลสที่รากผมของแต่ละคน จะมีปริมาณไม่เท่ากัน สำหรับพืชผักสมุนไพรที่ศึกษาทั้งหมด 45 ชนิด แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการสลาย H2O2 ที่อุณหภูมิห้องได้ต่างกัน โดยใบชะพลูมีประสิทธิภาพดีสุด รองลงมาคือบัวบก โดยพบว่าใบชะพลูและบัวบกสามารถสลาย H2O2 ได้ดีสุดที่อุณหภูมิห้อง (28.6๐c) และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการสลาย H2O2 จะลดลง โดยอุณหภูมิตั้งแต่ 70๐c เป็นต้นไปจะไม่สามารถสลาย H2O2 ได้ ค่าความเป็นกรด-เบสที่เอนไซม์ทำงานได้ดีที่สุดคือ pH=7 และเมื่อมีความเป็นกรดหรือเบสมากขึ้น ประสิทธิภาพในการสลาย H2O2 จะลดลง โดยพบว่าใบชะพลูส่วนที่เป็นใบแก่ สามารถสลาย H2O2 ได้ดีกว่าใบอ่อน ส่วนบัวบกส่วนที่เป็นใบ สามารถสลาย H2O2 ได้ดีกว่าส่วนที่เป็นก้าน ส่วนแนวทางการแปรรูปพืชผักสมุนไพร เพื่อลดการเกิดผมหงอกก่อนวัย พบว่าการแปรรูปพืชผักสมุนไพรคือ ใบชะพลูและบัวบก ในรูปของยาแคปซูลจะได้ผลิตภัณฑ์ที่เขียวอ่อนมีน้ำหนักต่อแคปซูล 0.4 g pH=6.84 และ 6.89 ตามลำดับ ส่วนยาลูกกลอนได้ผลิตภัณฑ์สีเขียวอมดำมีน้ำหนักต่อเม็ด 0.2g pH=7.31 และ 7.12 ตาม และแชมพูสระผมใบชะพลูและบัวบกมีสีเขียวอมเหลือง pH=6.89 และ 6.05 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดสามารถสลาย H2O2 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดผมขาว และสามารถทดแทนเอนไซม์คะตะเลสที่ร่างกายผลิตได้น้อยลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดในเชิงพานิชย์ได้ต่อไป