โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชน้ำจืด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบชนิดของสูตรอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และระยะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืชน้ำจืดที่ให้แสงธรรมชาติ และแสงหลอดฟลูออเรสเซนส์ ในช่วงเวลาให้แสงต่างๆ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือ 1. เพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนน้ำจืด (น้ำเขียว) ในสูตรอาหาร C สูตรอาหารจากมูลวัวหมัก สูตรอาหารจากถั่วเหลือง และน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ให้แสงธรรมชาติ 4 และ 8 ชั่วโมงต่อวัน 2.เพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชน้ำจืดในสูตรอาหาร C สูตรอาหารจากมูลวัวหมัก สูตรอาหารจากกากถั่วเหลือง และน้ำกลั่น(ชุดควบคุม) ให้แสงหลอดฟลูออเรสเซนส์ 4 และ 8 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งสองการทดลอง มีเซลล์หัวเชื้อเริ่มต้นเท่ากับ 0.1x106 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ทำการตรวจนับเซลล์ทุก 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน โดยใช้ Hemacytometer ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงกำลังขยาย 40x จากการทดลองพบว่า อาหารสูตร C ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนดีที่สุด และแสงที่ทำให้แพลงก์ตอนเจริญเติบโตดีที่สุดคือแสงธรรมชาติ โดยมีระยะเวลาการให้แสง 8 ชั่วโมง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
คิมธาดา ขวัญใจ
ปามาลิน คำมาเร็ม
อริศวัฒน์ ตรีศรีสิริ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
aม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ภาคเหนือตอนบน
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์