โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยเจลาตินจากเกล็ดปลานิล
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเจลาตินที่สกัดได้จากเกล็ดปลานิลมาเคลือบพันธุ์เมล็ดทานตะวัน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลองได้แก่ 1.ศึกษาอุณหภูมิและความเข้มข้นของกรดแอซิติดที่เหมาะสมต่อการสกัดเจลาตินจากเกล็ดปลานิล จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิและความเข้มข้นของกรดแอซิติกมีผลต่อความหนืด และปริมาณเจลาตินจากเกล็ดปลานิลที่ได้จากการสกัด โดยการใช้อุณหภูมิสูงจะทำให้เจลาตินมีความหนืดลดลง แต่มีปริมาณเจลาตินที่สกัดได้เพิ่มมากขึ้น ส่วนการใช้กรดแอซิติกที่มีความเข้มข้นสูงจะทำให้เจลาตินมีความหนืดเพิ่มขึ้น และมีปราณเจลาตินที่สกัดได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย 2.เปรียบเทียบความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารเคลือบเมล็ดพันธุ์จากเจลาตินต่อเปอร์เซ็นต์การงอกและความยาวรากของต้อนอ่อนทานตะวัน พบว่าความเข้มข้นของสารเคลือบเมล็ดพันธุ์จากเจลาตินมีผลต่อเปอร์เซ็นต์การงอก โดยสารเคลือบที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 50 จะทำให้เมล็ดพันธุ์ทานตะวันมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงกว่าระดับความเข้มข้นอื่นๆ แต่ความเข้มข้นของสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ไม่มีผลต่อความยาวรากของต้นอ่อนทานตะวัน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉันทพิชญา สิรินันท์สมบูรณ์
ภรัณยา สีวิริยะสกุล
วัชราภรณ์ ดอยวิไล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
aม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลเชิดชูเกียรติ ภาคเหนือตอนบน
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลานิล เกล็ด
เจลาติน
เมล็ดพันธุ์ การเคลือบ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์