โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคนาโนเงินที่ได้จากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในด้วยวิธีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องการศึกษาความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของอนุภาคนาโนเงินที่ได้จากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในด้วยวิธีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาผลการใช้น้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในเป็นตัวกลางในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงิน (2)เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นใน ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (3)เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียระหว่างอนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในกับการสังเคราะห์ทางเคมี (4)เพื่อศึกษาค่า MIC และ MBC ของอนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในที่มีต่อเชื้อแบคทีเรีย ผลการศึกษาพบว่าน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในเป็นตัวกลางในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินได้ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมของการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นใน ที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus cereus และ Salmonella sp. โดยวิธี disc diffusion ได้ดีที่สุด คือ น้ำสกัดเปลือกทุเรียน 30ml ผสมกับ AgNO3 50ml โดยอนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นในมีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียได้น้อยกว่าอนุภาคนาโนเงินที่ได้จากวิธีการทางเคมี เมื่อทำการศึกษาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดในการยับยั้งเชื้อ (MBC) ของอนุภาคนาโนเงินจากน้ำสกัดเปลือกทุเรียนชั้นใน พบว่า S. cereus, E coli และ Salmonella sp. จะมีค่า MIC และ MBC เท่ากัน คือ 25% v/v และ 50% v/v ตามลำดับ ส่วนเชื้อ B.cereus จะมีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 3.125% v/v และ 6.25% v/v ตามลำดับ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทราพร กฤตรนต์รัศมี
สโรชา โพธิ์ยิ้ม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ทุเรียนเปลือก
สิ่งแวดล้อม
อนุภาคนาโนเงิน
แบคทีเรียการยับยั้ง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์