โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพการเร่งรากกิ่งเพาะชำกุหลาบด้วยส่วนต่างๆ ของต้นไทร
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพการเร่งรากกิ่งเพาะชำกุหลาบด้วยส่วนต่างๆ ของต้นไทร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบด้วยดินเพาะชำที่ผสมกับเปลือกของต้นพืชต่างชนิดกัน ได้แก่ ต้นไทร ต้นโพธิ์ และต้นยางพารา เปรียบเทียบกับการใช้สารเร่งราก และศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบด้วยดินผสมกับส่วนต่างๆ ของต้นไทร ได้แก่ ปลายยอด เปลือกลำต้น รากอากาศ และได้ศึกษาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของดินเพาะชำกับส่วนของต้นไทรที่เหมาะสมที่สุดในการเร่งรากกิ่งเพาะชำกุหลาบ โดยใช้อัตราส่วนผสมระหว่างดินกับรากอากาศของไทร จากการศึกษาทดลองได้ผล ดังนี้ จากการศึกษาประสิทธิภาพในการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบด้วยดินเพาะชำที่ผสมกับเปลือกของต้นพืชต่างชนิดกัน ได้แก่ ต้นไทร ต้นโพธิ์ และต้นยางพารา เปรียบเทียบกับการใช้สารเร่งราก พบว่า ดินผสมเปลือกต้นไทร มีประสิทธิภาพดีที่สุดใกล้เคียงกับการใช้สารเร่งราก จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบด้วยดินผสมส่วนต่างๆของต้นไทร พบว่ารากอากาศของไทรมีประสิทธิภาพการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบดีกว่าส่วนปลายยอด และส่วนเปลือกลำต้น และเมื่อศึกษาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของดินเพาะชำกับส่วนของต้นไทรที่เหมาะสมที่สุดในการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบ พบว่าอัตราส่วนผสมของดินเพาะชำกับรากอากาศไทรที่เหมาะสมต่อการเร่งรากกิ่งชำกุหลาบที่ดีที่สุดคือ 2:1
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กุลปริยา วงศ์สถาน
ธนพัต ศิริดล
อชิรญาณ์ ผิวหอม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3 ประเภทชีวภาพภาคเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กุหลาบการเพาะชำ
ต้นไทร
รากการเร่ง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์