โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องBacterial Cellulosic Ethanol ที่ย่อยด้วย Cellulolytic Bacteria ที่หมักจากมูลวัว

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การผลิตไบโอเอทานอลได้รับความสนใจกันทั่วโลก เนื่องจากช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังรักษาความมั่นคงของพลังงานของโลก วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรจะเป็นแหล่งเซลลูโลสที่สำคัญในการผลิตเอทานอล ในการทดลองนี้ได้ทำการเปลี่ยนโครงสร้างของเซลลูโลสซึ่งเป็นสารตั้งต้นของน้ำตาลให้เป็นน้ำตาล โดยผ่านกระบวนการทางฟิสิกส์คือ นำเซลลูโลสที่ได้มาปั่นให้ละเอียด แล้วผ่านกระบวนการทางเคมีคือย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นโมเลกุลสั้นลงด้วยกรดและเบส หลังจากนั้นทำการเปลี่ยนโครงสร้างให้เป็นน้ำตาลด้วยเอนไซม์เซลลูเลสที่ได้จากการหมักมูลวัว โดยการนำมูลวัวมาหมักด้วยรำข้าวในอัตราส่วน 1:1 แล้วน้ำหมักที่ได้ไปทำการย่อยสลายเซลลูโลสจากจุลินทรีย์ จะพบว่า น้ำหมักจากมูลวัวมีเอนไซม์เซลลูเลสย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาล ทำให้ระยะเวลาในการผลิตแอลกอฮอล์สั้นลงกว่าไม่ได้ใช้เซลลูเลสจากมูลวัว 22 วัน คิดเป็น 44% และเมื่อเติมยีสต์ลงไปในน้ำตาลที่ได้พบว่ายีสต์สามารถผลิตเอทานอลจากแบคทีเรียลเซลลูโลสได้ปริมาณสูงกว่าการหมักแบบอื่นๆ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กาญจนา คมกล้า

  • ธิดารัตน์ เพียรจัด

  • สุรีย์พร ตรีเพชรประภา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุวารี พงศ์ธีระวรรณ

  • เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • Cellulolytic Bacteria

  • Cellulosic Ethanol

  • มูลสัตว์การหมัก

  • เอทานอล

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์