โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการเตรียมสบู่สังกะสีจากน้ำมันปาล์มที่ใช้แล้ว เพื่อลดความหนืดของยางคอมพาวด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ดารีนา ยาเมาะ
อานีส อับดุลเราะมัน
โซเฟีย ตอยิบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หามะ สุหลง
เครือศรี วิเศษสุวรรณภูมิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำมันปาล์ม การสกัด
ยางคอมพาวด์ ความหนืด
สบู่สังกะสี
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารลดความหนืดของยาง จากน้ำมันเหลือใช้จึงน่าจะเกิดประโยชน์ในการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมผลิตยางพารา โดยการนำน้ำมันปาล์มที่ใช้แล้วที่ผ่านการกรองไปทำปฏิกิริยา sponification กับโพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ จะได้เกลือของกรดไขมันกับกลีเซอรอล จากนั้นกำจัดกลีเซอรอลออกและนำเกลือของกรดไขมันไปทำปฏิกิริยากับซิงค์ซัลเฟตจะได้สังกะสี ผลการนำสบู่สังกะสีที่เตรียมได้เป็นสารช่วยลดความหนืดในยาง 5 phr เปรียบเทียบค่าความหนืดมูนนี่ที่ได้กับยางคอมพาวด์ที่ไม่ผสมสารลดความหนืดและเปรียบเทียบกับยางคอมพาวด์ที่ผสมสารช่วยลดความหนืดยางทางการค้า คือ ULTRA FLOETM-700S โดยใช้สูตรยางมาตรฐาน ASTMD 3184 นำยางคอมพาวด์ที่ได้ไปทดสอบความหนืดด้วยเครื่อง Moner Viscomiter พบว่าเกลือสังกะสีสามารถลดความหนืดของยางคอมพาวด์ได้ดีและสามารถลดความหนืดได้เทียบเท่ากับการผสมสารลดความหนืดทางการค้า ULTRA FLOETM-700S อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่าอีก