โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปลาสอดสีสวยด้วยสารธรรมชาติ
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มสีปลาสอด ซึ่งเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินและสวยงาม ด้วยสารธรรมชาติจากพืชที่มีรงควัตถุแซนโทฟิล (Xanthophyll) ตัวอย่างพืชที่ใช้คือ ดอกดาวเรือง ชบา บานบุรี และพริกขี้หนูแดง โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอนคือ ตอนที่ 1 เปรียบเทียบสีของปลาสอดเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารปลาผสมดอกดาวเรือง ชบา บานบุรี และเปลือกพริกขี้หนูแดง ผลการทดลองพบว่า การผสมอาหารปลา : พืช ในอัตราส่วน 1 : 1 นั้น อาหารปลาที่ผสมดอกดาวเรืองและชบา ทำให้ปลาสอดมีสีเข้มกว่า อาหารปลาที่ผสมดอกบานบุรี และเปลือกพริกขี้หนูแดง ตอนที่ 2 ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของดอกดาวเรืองและชบาผสมกับอาหารปลา โดยใช้อัตราส่วน 1 : 1, 1 : 2, 2 : 1, 1 : 3 และ 3 : 1 ผลการทดลองพบว่า อัตราส่วนผสมของดอกดาวเรือง : อาหารปลาในอัตราส่วน 3 : 1 และอัตราส่วนผสมของดอกชบา : อาหารปลาในอัตราส่วน 3 : 1 สามารถเพิ่มสีให้ปลาสอดได้ดีกว่าในอัตราส่วนอื่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ทศพร มัจฉา
ลลิตาภรณ์ หงิมห่วง
สุกัญญา เทพประสิทธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรา อุ่นวิจิตร
ทัศนีย์ เป๋าสมบัติ
ประมวล กอกุลชัง
เดือนเพ็ญ จันทร์ตรี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคกลาง
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2544 12(36) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ปลาสอด
สารธรรมชาติ
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์