โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฌานิกา แซ่แง่
ยุทธิภูมิ คงบุรี
อนุรัตน์ ศิริรัตน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิตยา ทวีกิจการ
ประดิษฐ์ ไชยศรี
สมพร คู่ปิตุภูมิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 และชนะเลิศการประกวดระดับประเทศ กำหนดหัวข้อ ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 8(23) p61
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถ่านกัมมันต์
เปลือกผลไม้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ คง ป139/2539 โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเปลือกผลไม้เหลือทิ้งชนิดต่าง ๆ มาเผาเป็นถ่าน แล้วนำถ่านที่เผาได้นั้นมาผลิตเป็นถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางเคมี และวิธีทางฟิสิกส์ พร้อมทั้งศึกษาว่าถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้ต่างชนิดกันที่ผลิตขึ้นโดยวิธีเดียวกัน และถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้ชนิดเดียวกันแต่ผลิตขึ้นโดยวิธีต่างกันเมื่อนำไปทดสอบการลดปริมาณ Pb2+ ในน้ำ การดูดกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย และการดูดสีของสารละลายน้ำตาลทรายดิบ จะให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร สำหรับการผลิตถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางเคมีเริ่มด้วยนำถ่านจากเปลือกผลไม้มาต้มด้วยสารละลาย ZnCl2 เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้ชุด Reflux หลังจากนั้นนำไปต้มด้วยสารละลาย HCl น้ำ สารละลาย Na2CO3 น้ำ ตามลำดับ ครั้งละ 30 นาที แล้วล้างผลิตภัณฑ์ จนน้ำล้างเป็นกลาง ตากแดดให้แห้ง ก็จะได้ถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้ สำหรับการผลิตถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางฟิสิกส์ เริ่มด้วยนำถ่านจากเปลือกผลไม้ไปกระตุ้นด้วยไอน้ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วตากแดดให้แห้ง ก็จะได้ถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้ จากการเผาถ่านจากเปลือกผลไม้พบว่า ถ่านจากเปลือกลูกเนียงได้มากที่สุดคือ 34.48 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการผลิตถ่านกัมมันต์ โดยวิธีทางเคมีพบว่า ถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าวได้มากที่สุด คือ 95.25 เปอร์เซ็นต์ การผลิตถ่านกัมมันต์โดยวิธีทางฟิสิกส์ พบว่าถ่านกัมมันต์จากกะลามะพร้าว ได้มากที่สุด คือ 98.75 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลการทดสอบความสามารถในการลดปริมาณ Pb2+ ในน้ำด้วยถ่านกัมมันต์พบว่า ถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนที่ผลิตขึ้นโดยวิธีทางเคมี และวิธีทางฟิสิกส์สามารถกำจัด Pb2+ ได้ดีที่สุด สำหรับการทดสอบความสามารถในการดูดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียพบว่า ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตโดยวิธีทางเคมี ถ่านกัมมันต์จากเปลือกเงาะ กะลามะพร้าว ดูดก๊าซแอมโมเนียได้ดีที่สุด ส่วนถ่านกัมมันต์ที่ผลิตขึ้นโดยวิธีทางฟิสิกส์ ถ่านกัมมันต์จากเปลือกเงาะ สามารถดูดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียได้ดีที่สุด สำหรับความสามารถในการดูดสีของสารละลายน้ำตาลทรายดิบพบว่าถ่านกัมมันต์ที่ผลิตโดยวิธีทางเคมี ถ่านกัมมันต์จากเปลือกเงาะ เปลือกมังคุด เปลือกทุเรียนสามารถดูดสีสารละลายน้ำตาลทรายดิบได้ดีที่สุด และยังพบว่าไม่มีถ่านกัมมันต์จากเปลือกผลไม้ชนิดใดที่ผลิตขึ้นโดยวิธีทางฟิสิกส์ที่สามารถดูดสีของสารละลายน้ำตาลทรายดิบได้ดี