โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสะเดาช้างป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและคัดเลือกชนิดของขี้เลื่อย (จากไม้สะเดาช้าง, ไม้ขนุน, ไม้ยาง, ไม้หลุมพอ,ไม้แดง) ที่มีผลต่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยใช้อัตราส่วน ขี้เลื่อยที่แห้งชนิดละ 1 กิโลกรัม แช่น้ำในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง และนำไปรดต้นมะลิและผักกาดเขียวกวางตุ้งในปริมาณเท่า ๆ กัน 5 กระถาง และรดด้วยน้ำธรรมดา 1 กระถาง ใช้เวลา 4 สัปดาห์ โดยศึกษาลักษณะและการเจริญเติบโตของต้นมะลิและผักกาดเขียวกวางตุ้งที่เพาะปลูกด้วยการรดด้วยน้ำที่สกัดจากขี้เลื่อยชนิดต่าง ๆ และน้ำธรรมดา ผลการทดลองพบว่าขี้เลื่อยของไม้สะเดาช้างเป็นขี้เลื่อยที่มีผลต่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ดีที่สุด จากนั้นได้นำส่วนต่าง ๆ ของต้นสะเดาช้างมาศึกษาและคัดเลือกส่วนที่ดีที่สุดในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผลการทดลองพบว่า เมล็ดสะเดาช้างสามารถป้องกันศัตรูพืชได้ดีที่สุด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • จิราพร จันทสุวรรณ

  • บูรณจิตร แก้วศรีมล

  • พนิตา สุมานะตระกูล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(27) p86

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • พืช

  • ศัตรูพืช การกำจัด

  • สะเดาช้าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์