โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถั่วงอกวิตามินซี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญาน์พงศ์ วิลาศลัส
ชมอาภา โขมพัตร
พศิน พรหมหาญ
ศรัญญา เง่าพิทักษ์กุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กรรณิกา วัลย์เครือ
พิมณภัทร ทนุโวหาร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 2ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ถั่วงอกการเจริญเติบโต
วิตามินซี
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องถั่วงอกวิตามินซี จำทำขึ้นเพื่อหาวิธีการเพิ่มคุณภาพถั่วงอก โดยการเพิ่มวิตามินซีชนิดเม็ดจำนวน 1,2,3 และ 4 เม็ด ละลายในน้ำกลั่น 150 cm^3/ ครั้ง และสารละลายกรดแอสคอร์บิกเข้มข้น 1 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 , 2 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 , 3 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 และ 4 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 ตามลำดับ ใช้รดเมล็ดถั่วทุก 4 ชั่วโมง แล้วหาปริมาณวิตามินซีในถั่วงอกตั้งแต่เริ่มเพาะ เป็นเวลา 5 วัน เปรียบเทียบกับการเพาะโดยใช้น้ำกลั่นในปริมาตรเท่ากัน จากการเปรียบเทียบปริมาณวิตามินซีโดยการไทเทรต พบว่าถั่วงอกมีปริมาณวิตามินซีเพิ่มขึ้นในชุดที่รดด้วยสารละลายวิตามินซีชนิดเม็ดจำนวน 1,2,3 และ 4 เม็ด/น้ำกลั่น 150 cm^3 และสารละลายกรดแอสคอร์บิกเข้มข้น 1 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 , 2 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 , 3 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 และ 4 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 และเพิ่มขึ้นสูงกว่าชุดที่รดด้วยน้ำกลั่น โดยในวันที่ 2 มีปริมาณวิตามินซีสูงสุดและสูงกว่าถั่วงอกจากท้องตลาดโดยส่วนหัวของถั่วงอกมีวิตามินซีในสูงกว่าส่วนหาง ผลการเปรียบเทียบความกรอบของถั่วงอกในวันที่ 3 จากค่าแรงดึง ถั่วงอกที่มีความกรอบมากที่สุดคือถั่วงอกที่เพาะโดยใช้สารละลายกรดแอสคอร์บิก 2 x 〖10〗^(-4) mol/dm^3 ส่วนถั่วงอกที่เพาะโดยใช้สารละลายวิตามินซีชนิดเม็ดชุดที่มีความกรอบมากที่สุดคือชุดที่ 3 ใช้สารละลายวิตามินซี 2 เม็ด และมีความกรอบมากกว่าถั่วงอกจากตลาด สรุปได้ว่าสามารถเพิ่มวิตามินซีในถั่วงอกโดยการเพิ่มวิตามินซีชนิดเม็ดหรือกรดแอสคอร์บิกในน้ำที่ใช้ลดถั่วงอกที่ได้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค