โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องBio Base Packaging จาก Cellulose ใบบัวหลวง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรพัฒน์ มาน้อย
ยุทธศาสตร์ สอนประสม
ฤทธิกุล ธรฤทธิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทกายภาพภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
บรรจุภัณฑ์
บัวหลวงเส้นใย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
Bio Base Packaging จาก บัวหลวง จำทำขึ้นเนื่องจากปัญหาบรรจุภัณฑ์อาหารปรุงสุกจากโฟมและพลาสติกที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และปัญหาต่อสุขภาพของผู้บริโภค จึงมีจุดประสงค์ที่จะทำ Bio Base Packaging ยืดอายุอาหาร โดยใช้คุณสมบัติในการยับยั้งจุลินทรีย์มาเป็นข้อได้เปรียบในการยืดอายุอาหาร ปลุงสุก และนำเส้นใยจากก้านบัวที่มีคุณสมบัติเหนียวทนต่อแรงดึงข้อมาเป็นส่วนประกอบในการทำบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้ การศึกษาการเตรียมเยื่อ Cellulose จากเส้นใยของก้านบัวโดยการต้มด้วย NaOH ที่ความเข้มข้น 5% 10% 15% พบว่า การต้มด้วย NaOH 10% ทำให้ได้เส้นใยที่มีความแข็งกระด้างน้อยที่สุด สามารถร่อนเป็นแผ่นเยื่อได้ดี หลังจากนั้น ทำการพัฒนาเป็นภาชนะ Bio Base Packaging เมื่อทดลองพัฒนาคุณภาพของ Bio Base Packaging โดยการเคลือบด้วยแป้งข้าวโพด และแป้งถั่วเขียวที่ผสม Tio2 พบว่า Bio Base Packaging มีค่าทนต่อแรงดึงมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากมีการผสมด้วย Tio2 จึงทำให้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคงสภาพของอาหารไว้ได้นานยิ่งขึ้น และ Bio Base Packaging สามารถสลายตัวในดินในเวลา 45 วัน