โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันการเกิดแผลกดทับ “แผ่นปูรองนอนที่สานด้วยเส้นใยสอดประสานระหว่างกระจูดและใยกล้วยที่คอมพาวด์ด้วย อนุภาคนาโน”

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กาญจนา คมกล้า

  • ธิดารัตน์ เพียรจัด

  • สุรีย์พร ตรีเพชรประภา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุวารี พงศ์ธีระวรรณ

  • เฉลิมพร พงศ์ธีรวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ประเภทกายภาพภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • กระจูดผลิตภัณฑ์

  • แผลกดทับการป้องกัน

  • แผ่นปูรองนอน

  • ใยกล้วยผลิตภัณฑ์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ป้องกันการเกิดแผลกดทับ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาแผ่นรองนอนให้มีความอ่อนนุ่ม มีแรงเสียดทานน้อยลง ลดรายถลอก และมีความแข็งแรง ทนต่อแรงดึง ไม่เปราะแตกหัก ไม่เกิดเชื้อรา สามารถนำไปใช้งานได้นาน เนื่องจากกระจูดเป็นวัชพืชั้แพร่พันธุ์ได้เร็ว เจริญเติบโตได้ดี มีคุณสมบัติการดูดซับน้ำ และมีความพรุนสูง แต่ปัญหาของเสื่อกระจูดคือไม่เรียบ ทำให้เกิดรอยบนผิวหนังของผู้ใช้ และมีความกระด้าง ในการทดลองได้ทำการพัฒนากระจูด แล้วนำมาผสมกับเส้นใยอ่อนนุ่มของฟองกาบกล้วย เพื่อให้เกิดความอ่อนนุ่ม ได้พัฒนาได้ปรับสภาพของเส้นใยฟองน้ำของกล้วยและกระจูดโดยลดความกระด้างของเส้นใย จากการพัฒนาคุณภาพ พบว่าสามารถพัฒนาเส้นใยฟองน้ำ ของกาบกล้วยและกระจูดให้มีคุณสมบัติเชิงกลได้ดีมากขึ้น คือความเหนียวทนต่อแรงดึงได้มากกว่าเส้นใยที่ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ คุณสมบัติทางกายภาพคือ มีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สามารถม้วนแล้วคลายตัวได้ ทนกรดและเบส เมื่อเก็บในที่ชื้นนาน 7 วันไม่เกิดเชื้อรา เมื่ออบแห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส พบว่าไม่แตกหัก ระบายความร้อน และยังคงมีความเหนียวใกล้เคียงสภาพปกติที่อุณหภูมิห้อง เมื่อนำไปทดสอบการเกิดรอยกดทับ พบว่าเมื่อใช้เวลาในการกดน้ำหนักตัวคน ทับลงไปโดยไม่เปลี่ยนตำแหน่งนาน 5 ชั่วโมง พบว่าไม่เกิดรอยกดทับ และไม่เกิดความชื้นที่ผิวหนัง ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการพัฒนาเสื่อที่เป็นภูมิปัญญาของไทยให้มีศุกยภาพเข้าสู่เชิงพานิชย์ต่อไป