โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องแผ่นกาวดักจับแมลงศัตรูพืชย่อยสลายได้
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาแผ่นกาวดักจับแมลงศัตรูพืชย่อยสลายได้ เพื่อหาวิธีกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงผัก สวนผลไม้ และนาข้าว ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนและปัจจัยในการดักจับแมลงของกาว ชนิด ระยะเวลาการใช้งาน และการย่อยสลายของแผ่นกาวจากเส้นใยพืช โดยในขั้นตอนแรกเป็นการศึกษาอัตราส่วนของน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว ไขมันวัว และยางตะเคียน และปัจจัยในการดักจับแมลงของกาวเหนียว ผลการทดลองพบว่าการสูตรที่ 7 ในอัตราส่วน 0.25g : lml : lml มีความเหนียวและสามารถดักจับแมลงได้มากที่สุด ส่วนปัจจัยในการดักจับแมลงเป็นการศึกษาในด้านกลิ่นและสี ซึ่งพบว่า กาวที่มีกลิ่นกะเพรา และสีเหลืองจากขมิ้น สามารถดักจับแมลงได้มากที่สุด เมื่อได้กาวที่ดีที่สุดแล้ว การทดลองถัดไปจึงเป็นการศึกษาแผ่นกาวจากเส้นใยพืช โดยใช้พืช 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วผี ปอเทือง และโสนหิน พบว่าแผ่นกาวจากถั่วผีสามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด จากนั้นเป็นการศึกษาการย่อยสลายจากแผ่นกาวจากถั่วผี ซึ่งผลการทดลองปรากฎว่า แผ่นกาวจากถั่วผีสามารถย่อยสลายและให้ธาตุ NPK แก่ดินได้ หลังจากผ่านการฝั่งกลบด้วยดินทราย การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสารจากธรรมชาติเพื่อใช่ในการผลิตกาวดักจับแมลง ตลอดจนการผลิตแผ่นสำหรับใช้เป็นฐานสำหรับทากาว เพื่อใช้งานในพื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกร โดยมุ่งเน้นในการผลิตโดยใช้วัชพืชมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งถือได้ว่าโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องนี้เป็นการสร้างแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเกษตร สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆเหล่านั้นได้ถึง 3 จุดคือ การแก้ไขปัญหาแมลงในแปลงผัก โดยใช้กาวดักเพื่อจับแมลงจากวัสดุธรรมชาติ ได้แผ่นกาวที่มีคุณลักษณะย่อยสลายได้และอีกประเด็นหนึ่งคือ สามารถลดปริมาณวัชพืชซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของเกษตรกร โดยให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์อย่างคุ้มค่าอีกด้วย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีระวัฒน์ เฉลิมญาติ
ภัทรพงศ์ ลิมปวัฒนะ
สิทธิชัย เทพเดช
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทชีวภาพภาคตะวันออก
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
แผ่นกาว
แมลงการกำจัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์