โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการสกัดเพคตินจากพืช
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องนี้มีที่มาจากการค้นพบว่า เพคตินเป็นตัวประสานหรือตัวทำให้แข็ง (Congeal or solidity) ใช้ในอุตสาหกรรมการค้าคือเป็นใยอาหารซึ่งละลายน้ำ ในทางการค้าเพคตินมักไม่แบ่งขายปลีก หากต้องการซื้อในปริมาณน้อย ปริมาณเพคตินที่ผลิตได้ในประเทศยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค คณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นวิธีการผลิตเพคตินจากพืชที่มีในท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการลดค่าใช้จ่าย โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสกัดเพคตินจ่กเปลือกแตงโม เปลือกมะนาว ใบมะกรูด และเม็ดขนุน โดยหาสภาวะต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการสกัด ได้แก่ ค่า pH และเวลา ทั้งนี้ใช้เปลือกของมะนาวเป็นตัวหลักในการหาค่า ค่า pH และเวลา จึงพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคติน ได้แก่ pH 3±1 และเวลา 120 นาที แล้วจึงนำผลที่ได้จากเปลือกมะนาวไปใช้กับเปลือกแตงโม ใบมะกรูด และเม็ดขนุน ผลที่ได้ก็คือเพคตินจากเม็ดขนุนมีปริมาณมากที่สุดคือ 3.06% yield หากเราตรวจสอบคุณภาพเพคตินอย่างละเอียดแล้วก็จะสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยใช้พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุลีพร ประทีป ณ ถลาง
ปาณิสรา ทองตัน
ศิริสุข แซ่อุ๋ย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิมลวรรณ ตัณฑวัฒน์
อัครพล บุตรสุรีย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์