โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการพัฒนาอาหารเลี้ยงปลานิลจิตรลดาจากฟางข้าวหมักด้วยมูลไส้เดือน

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองนำฟางข้าวมาเป็นอาหารของปลานิลจิตรลดาเพื่อลดต้นทุนการผลิตและช่วยให้น้ำไม่เน่าเสีย จากการทดลองพบว่า ปลากินฟางข้าวที่เปื่อยยุ่ย จาการทดสอบพบว่าฟางข้าวมีแทนนิน สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้ เมื่อนำฟางข้าวมาหมักด้วยมูลไส้เดือน ฟางข้าวย่อยสลาย CMC ได้ดี ย่อยเร็วขึ้นกว่าการหมักด้วย EM . เวลาที่เหมาะสมในการหมักคือ 15 วัน และนอกจากนั้นยังส่งผลให้พืชน้ำที่ใช้ทดลองเจริญเติบโตได้ดี เมื่อนำไปเป็นอาหารของปลาโดยการให้สลับวัน พบว่าการให้ฟางข้าวหมักด้วยมูลไส้เดือนดิน โดยให้สลับกับอาหารเม็ด มีผลทำให้ค่า DO ของน้ำสูงกว่ากินอาหารเม็ด ปลามีความแข็งแรง เคลื่อนไหวเร็ว สีเข้มสม่ำเสมอตลอดลำตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการรอดชีวิตของปลาสูง 100% ดังนั้นฟางข้าวหมักด้วยมูลไส้เดือน มีความเหมาะสมที่จะเป็นอาหารของปลานิลจิตรลดาได้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กนกลักษณ์ ชุณหพงศ์พิเชฐ

  • กมลชนก โชติรัตน์

  • ภัทริตา อินทานุกูล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น เหรียญทอง ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ปลานิลจิตรลดา การเลี้ยง

  • ฟางข้าว การทดลอง

  • ไส้เดือนดิน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์