โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องชุดอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงสำหรับการจราจร Traffic Signal Device

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการเกิดโรคทางเดินหายใจของตำรวจจราจร ที่พบจากสถติของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งมีข้อมูลว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเป็นตำรวจจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามท้องถนนที่ได้สูดอากาศปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายตลอดทั้งวัน ทางคณะผูจัดทำจึงคิดออกแบบชุดอุปกรณ์ที่ช่วยให้สัญญาณจราจร ที่สามารใช้แทนนกหวีดและสามารถให้สัญญาณอื่นๆได้ โดยนำชุวงจรอิเล็กทรอนิส์ MX113: บันทึกเสียง 680 วินาที 8 ข้อความ มาบันทึกเสียงนกหวีด ต่อเข้ากับลำโพงขนาด 12 โวลต์ 120 เดซิเบล และใช้พลังงานจากแบบเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ ควบคุมการทำงานด้วยชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ MX107: รีโมทคอนโทรลย่าน UHF 4 ช่อง ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด 9 โวลต์ ซึ่งบรรจุใส่ไว้ในถุงมือแบบสะท้อนแสง ที่สามารถควบคุมเสียงสัญญาณนกหวีด 2 รูปแบบ คือช่วงเสียงสั้นและเสียงยาวได้ โดยการใช้งานไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันสารปนเปื้อนในอากาศได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจและปัญหาสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องและด้วยแสงสะท้อนจากถุงมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณมือของตำรวจจราจรได้ดีมากยิ่งขึ้น

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • บุรัสกร ไพเมือง

  • สุภัชชา แสงศรี

  • เสรี วนานิยกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ภาคใต้

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ชุดอุปกรณ์ส่งสัญญาณเสียงสำหรับการจราจร การผลิต

  • มะเร็งปอด การป้องกัน

  • สิ่งประดิษฐ์

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์