โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกระถางเพาะชำกล้าไม้ย่อยสลายได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุนิสา พรหมศรี
อภิชดา หลีสุวรรณ
อังสุมาลี สุวรรณรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 3ภาคใต้
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
กระถาง การทำ
กาวธรรมชาติและกาวสังเคราะห์
งาดำ เปลือก
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระถางเพราะชำกล้าไม้ย่อยสลายได้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำ จัดทำขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากาวที่เหมาะสมในการนำมาผสมกับเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำทำเป็นกระถางเพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพใช้งานได้ เพื่อศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการนำเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำมาผสมกับวัสดุอื่นทำ กระถางเพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพใช้งานได้ เพื่อศึกษาอัตราส่วนแคลเซียมไฮดรอดไซด?ที่เหมาะสมในการนำมาเป็นส่วนผสมการทำกระถางเพาะชำกล้าไม้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำให้มีคุณภาพใช้งานได้ดี เพื่อศึกษาคุณภาพการใช้งานของกระถางเพาะชำกล้าไม้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำที่นำไปเพาะชำกล้าไม้ชนิดต่างๆเปรียบเทียบหการเจริฐเติบโดของต้นพริกขี้หนูที่ปลูกแบบดึงถุงเพาะชำและไม่ดึงถุงเพาะชำออกและการศึกษาย่อยสลายหมดของกระถางเพราะชำกล้าไม้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำที่ฝังดิน ผลการศึกษาพบว่า กาวที่เหมาะสมในการนำมาผสมกับเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำ มากที่สุด คือ กาวจากแป้งข้าวโพด อัตราส่วนที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพของกระถางจากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำให้มีคุณภาพใช้งานได้ดี ได้แก่ อัตราส่วนเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำ 40 g+แป้งข้าวโพด10g+น้ำมันพืช 10g+เยื่อกระดาษ10 g+แคลเซียมไฮดรอกไซด์20gโดยนำไปอบที่อุณหภูมิ300℃เป็นเวลา5 นาที และตากแดดให้แห้งสนิทอีก 10ชั่วโมง จะได้กระถางที่มีเนื้อแข็งเหนียวถูกน้ำไม่อ่อนตัวกระถางแข็งแรง ใช้งานได้ดีการปรับปรุงคุณภาพโดยผสมแคลเซียมไฮดรอกไซด์จะช่วยยึดโครงสร้างของเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำกับกาวแป้งข้าวโพดและเยื่อกระดาษ ทำให้เปลี่ยนจากโครงสร้างที่ละลายน้ำง่ายเป็นโครงสร้างที่ละลายน้ำยาก มีสมบัติทางกายภาพทนต่อแรงดึง28-40N จะทำให้เนื้อกระถางแข็งถูกน้ำแล้วไม่เปื่อยยุ่ย สามารถเพาะชำกล้าไม้เช่น พริกขี้หนู มะละกอ และมะเขือให้เจริญเป็นต้นกล้านำไปปลูกแปลงเพาะได้โดยไม่ต้องเอากระถางออกเมื่อศึกษาการย่อยสลายของกระถางเพาะชำกล้าไม้ที่ฝังดิน พบว่าจะย่อยสลายหมดในเวลา 100-120 วัน เป็นการผลิตกระถางเพาะชำกล้าไม้จากเปลือกหุ้มเมล็ดงาดำไว้ใช้เอง สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อถุงเพาะชำ(ราคาต้นทุนใบละ30 สตางค์)รู้จักนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กระถางเพาะชำที่นำไปฝังในดิน เมื่อย่อยสลายหมดยังเป็นสารอาหารเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่เป็นส่วนผสมช่วยปรับสภาพP^Hของดินได้อีกด้วย อีกทั้งการฝึกให้นักเรียนมีความคิดริรเมสร้างสรรค์รู้จักนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เรียนรู้ในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้