โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องปัจจัยการงอกและการเพาะเลี้ยงบัวหลวงด้วยเมล็ด
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ปัจจัยการงอกและการเพาะเลี้ยงบัวหลวงด้วยเมล็ด เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการขยายพันธุ์บัวหลวงด้วยเมล็ดให้ได้ผลเร็ว โดยศึกษาต่อจากโครงงานรุ่นพี่ที่เคยทำมา ซึ่งมีปัญหาหลายอย่างที่น่าศึกษาเพิ่มเติม คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเพาะเมล็ดบัว เมล็ดที่แกะเปลือกเมื่อแช่ในน้ำจะทำให้น้ำเน่าเสีย ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน และการงอกของต้นอ่อนบัวใช้เวลาหลายวัน คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจเกี่ยวกับการขยายพันธุ์บัวหลวงให้ได้ผลรวดเร็วและแก้ปัญหาน้ำเสีย การทดลองศึกษาอัตราการงอกของเมล็ดบัวที่แกะเปลือกและไม่แกะเปลือก พบว่าเมล็ดบัวที่แกะเปลือก มีอัตราการงอกสูงกว่าเมล็ดบัวที่ไม่แกะเปลือก ความแก่ของเมล็ดบัวที่แก่ปานกลางมีอัตราการงอกสูงกว่า เมล็ดบัวที่เริ่มแก่และแก่จัด อัตราการการงอกของเมล็ดบัวที่แกะปริเวณปลายหัว มีอัตราการงอกสูงกว่าเมล็ดบัวที่ไม่แกะปริเวณปลายหัว การเพาะเลี้ยงบัวโดยฝังเมล็ดลงในดิน มีผลทำให้น้ำที่ปลูกบัวมีความใสมากกว่าแบบไม่ฝังเมล็ดลงในดิน การเพาะบัวในดินร่วมต้นบัวมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าดินเหนียวและดินทราย และความเข้มของแสงต่างกันมีผลต่อการเจริญเติบโตของบัวต่างกัน การเพาะและการขยายพันธุ์บัวด้วยเมล็ดเป็นวิธีการที่สามารถทำให้ขยายพันธุ์บัวได้อย่างรวดเร็วและได้บัวต้นในปริมาณมาก และยังเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์บัวให้มีคุณภาพสูงขึ้นสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงบัวได้ในอนาคต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณ ภัทร นวลมาก
ธีรธรรม ลีนิน
เอกราช บุญราม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 1 ประเภทชีวภาพภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์