โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาประสิทธิภาพเครื่องปั่นใยกล้วยสำหรับการผลิตกระดาษ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้เกิดขึ้นจากการได้พบเห็นผู้ผลิตกระดาษจากใยกล้วยด้วยมือ มีผิวหนังลอกอันเกิดจากโซดาไฟที่ใส่ลงไปในถังต้มกล้วย นอกจากนี้ยังเสียเวลาและเครื่องปั่นเยื่อกระดาษที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามีราคาแพง วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การนำเอาเศษเหล็กและถังน้ำมันที่ไม่ใช้แล้ว มาออกแบบทำเครื่องปั่นเยื่อกระดาษโดยการใช้จักรยานเป็นตัวปั่น การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ การประดิษฐ์เครื่องปั่นและการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเครื่องปั่นเยื่อกล้วยกับแรงงานคน โดยเริ่มจากการนำกล้วยน้ำหว้าที่หั่นเป็นชิ้นไปต้มในน้ำเดือดที่ใส่โซดาไฟจนสุก จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำเปล่าจนชิ้นกล้วยไม่ลื่นมือ นำมาขยำ จากนั้นนำมาทำเป็นกระดาษ ผลปรากฏว่า การใช้แรงงานคนทำให้เยื่อกระดาษบางชิ้นยังไม่ละเอียด และเมื่อตากแห้งแล้วพบว่าเนื้อกระดาษไม่ค่อยเรียบ มีชิ้นส่วนขนาดใหญ่ปนอยู่ ส่วนการปั่นด้วยเครื่องปั่น พบว่าเยื่อกระดาษส่วนใหญ่ละเอียด และเมื่อตากแห้งแล้วพบว่าเนื้อกระดาษส่วนใหญ่เรียบ แต่มีชิ้นส่วนขนาดใหญ่ปนอยู่ ส่วนการเปรียบเทียบการปั่นกล้วยที่น้ำหนักกล้วย 5,7 และ 15 กก. ในระยะเวลาที่แตกต่างกันพบว่าในการปั่นแต่ละครั้งน้ำหนักมีผลต่อการทำงานของเครื่อง และเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคน 2 คน พบว่าเครื่องช่วยให้ประหยัดเวลาได้ครึ่งหนึ่ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • พรผกา ชุมพร

  • วัชรี โสดาจันทร์

  • สุพิศ คำประสิทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ่อแก้ววิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้นชนะการประกวดรางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ภาคเหนือตอนล่าง

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์