โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องกรวยป่ารักษาโรค
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดของสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคผดผื่นคันอันเกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อยและโรคผิวหนังบางชนิดได้ วัสดุที่ใช้ได้แก่ ใบกรวยป่า ใบตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส ใบสะเดา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันระกำ กานพลู และขี้ผึ้ง เป็นต้น โดยมีวิธีการทดลองโดยการนำใบกรวยป่า ตำลึง ใบข่อย ใบยูคาลิปตัส และใบสะเดา นำมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว กานพลู เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ และพาราฟิน โดยผสมขี้ผึ้งและวาสลีน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาทดสอบกับอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังบางชนิดและมีอาการผดผื่นคัน รวมไปถึงโรคกลากเกลื้อนด้วย สุดท้ายเป็นการทดสอบประสิทธิภาพจากกากใบกรวยป่า และตำลึง เพื่อนำมาใช้ทำเชื้อเพลิง โดยนำกากดังกล่าวมาผสมกับเถ้าแกลบและแป้งข้าวเจ้า เติมน้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากัน อัดให้เป็นแท่งโดยทำการทดสอบเปรียบเทียบกับ ถ่านที่ทำจากซังข้าวโพด ผสมกับใบกรวยป่าและใบตำลึง จากนั้นทำการวัดค่าพลังงานที่ได้ ผลการทดลองพบว่า ใบกรวยป่าและใบตำลึงสามารถรักษาอาการคันจากยุงกัดได้ดี ดีที่สุดคือใบกรวยป่า รองลงมาคือ ใบตำลึง แต่ขี้ผึ้งที่ผลิตได้ไม่สามารถรักษาอาการโรคกลากเกลื้อนได้อย่างหายขาดแต่จะมีอาการทุเลาลงแตกต่างกันตามบุคคล อัตราส่วนในการทำขี้ผึ้งคือ กรวยป่า 1 ส่วน ต่อ น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับ กานพลู 40 กรัม ที่ตำละเอียด และใส่เมนทอล การบูร น้ำมันระกำ วาสลีน และพาราฟิน อย่างละ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร และใส่ขี้ผึ้งจำนวน 400 กรัมลงไปด้วย นำมาผสมกัน โดยที่สามารถเก็บไว้ในภาชนะหรือขวดเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง และพบว่าขี้ผึ้งที่ทำจากสมุนไพรจากใบกรวยป่า จะให้ผลในการรักษาอาการคันและบรรเทาโรคกลากเกลื้อนได้ดีกว่าขี้ผึ้งที่ทำจากใบตำลึง และยังพบว่า ถ่านที่ทำมาจากใบกรวยป่าจะให้พลังงานความร้อนมากกว่าถ่านที่ทำจากใบกรวยป่าผสมใบตำลึง และถ่านที่ทำจากใบตำลึงจะให้พลังงานความร้อนต่ำที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นาถยา ตาเมืองมูล
มลทิรา แซ่เอี้ย
สุภาพร คำอินบุตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ยาหม่อง
สมุนไพร
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์