โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการชะลอความเหี่ยวของดอกไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ฐิติ สมจันทร์ตา
ปาริชาด ขุนวิทยา
วีรพันธ์ ใจแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือตอนบน
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ดอกกุลาบ
ดอกเบญจมาศ
สารละลาย
สารสกัด
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสารสกัดจากน้ำผลไม้ต่างๆเพื่อชะลอความเหี่ยวของดอกกุหลาบและเบญจมาศ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองได้แก่ หลอดทดลอง บีกเกอร์ ดอกกุหลาบ และน้ำเป็นต้น วิธีทำการทดลองคือ นำผลไม้ 6 ชนิดได้แก่ มะนาว มะกรูด มะยม ส้มโอ แตงโม สับปะรด นำมาชนิดละ 20 กรัม สับให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำยกเว้นมะนาวและมะกรูด โดยนำสารสกัดที่ได้มาผสมกับน้ำ 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในปริมาณที่แตกต่างกัน คือ 1 cm3 1.5 cm3 2 cm3 2.5 cm3 และ 3 cm3 โดยทำการติดตามผลเป็นเวลา 5 วัน ผลการทดลองพบว่า สารละลายน้ำมะนาวและมะกรูดปริมาตร 3 cm3 ต่อน้ำ 30 cm3 จะชะลอความเหี่ยวของดอกกุหลาบและเบญจมาศได้ดีที่สุด เป็นเวลานาน 3 วัน และเมื่อทดลองใช้สารเคมีที่มีภายในบ้านได้แก่ สารละลายน้ำตาลกลูโคส น้ำตาลทราบ และน้ำส้มสายชู ที่ความเข้มข้นเท่ากันคือ 5 % แทนน้ำผลไม้ทั้ง 6 ชนิด พบว่า สารละลายน้ำตาลทราย 2.5 cm3 ต่อน้ำ 30 cm3 จะชะลอความเหี่ยวของดอกกุหลาบได้ดีที่สุด 3 วัน และเมื่อใช้ปริมาตรสารละลายน้ำตาล 2 cm3 ต่อน้ำ 30 cm3 จะชะลอความเหี่ยวของดอกเบญจมาศ 2 วัน ประโยชน์สามารถนำผลไม้ท้องถิ่นและสารเคมีภายในบ้านมาใช้ในการชะลอความเหี่ยวของดอกไม้ได้