โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาชนิดของสารเคมีและคุณสมบัติของน้ำขี้เถ้าตกตะกอนทางภูมิปัญญาไทย
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันนี้ผ้าไหมนับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาลการที่จะส่งออกผ้าไหมเป็นจำนวนมากนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการตกแต่งเส้นใยไหมเพื่อให้ได้ไหมที่มีคุณภาพซึ่งปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในการตกแต่งเส้นใยไหมประกอบไปด้วยกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน อีกทั้งยังส่งผลอันตรายต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม จึงมีการนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในกระบวนการตกแต่งเส้นใยไหม ซึ่งประกอบไปด้วยเพียงขั้นตอนเดียวที่สามารถตกแต่งเส้นใยไหมในกระบวนการเซลิเซน ฟอกขาวและการเป็นสาร Aftertreatment โดยทำการลอกกาวเซลิเซนด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ น้ำนจากนั้นนำเส้นใยที่ผ่านการลอกกาวมาฟอกขาวด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์ และการฟอกขาวด้วยน้ำจากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับเส้นไหมที่ผ่านการตกแต่งเส้นใยไหมด้วยน้ำขี้เถ้าตกตะกอน พบว่าเส้นไหมที่ผ่านการลอกกาวเส้นใยยังมีสีเหลืองขุ่นในการลอกกาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และเส้นไหมที่ผ่านการลอกกาวด้วยน้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งแตกต่างจากเส้นไหมที่ผ่านตกแต่งเส้นใยด้วยน้ำขี้เถ้าตกตะกอนที่มีความเงางามความอ่อนนุ่มและความสะอาดของเส้นใย แต่เส้นใยไหมที่ผ่านการลอกกาวและนำมาฟอกขาวด้วยโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์มีความสะอาดของเส้นใยใกล้เคียงกัน แต่เส้นยังมีความแข็งกระด้าง ส่วนที่ผ่านการฟอกขาวด้วยน้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการตกแต่งSpectrophotometer จากนั้นนำไปทดสอบความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อแสงแดด ความแข็งแรงต่อแรงดึงของเส้นใย สภาพการคืนตัวของเส้นใย พบว่าเส้นใยไหมที่ผ่านการตกแต่งเส้นใยด้วยน้ำขี้เถ้าตกตะกอนมีสภาพการติดสี ความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อแสงความแข็งแรงต่อแรงดึงของเส้นใยด้วยสภาพการคืนตัวของเส้นใยดีที่สุด แต่เส้นไหมที่ผ่านการตกแต่งเส้นใยด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ มีสภาพการติดสีความคงทนของสีต่อแสงแดดดี แต่มีความคงทนของสีต่อการซักการคืนตัวของเส้นใย และความแข็งแรงต่อแรงดึงของเส้นใยต่ำเส้นไหมที่ผ่านการตกแต่งเส้นใยด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์และน้ำมีสภาพการติดสี ความคงทนของสีต่อแสงแดดและการคืนตัวของเส้นใยดี แต่มีความคงทนของสีต่อการซักและความความแข็งแรงต่อแรงดึงดูดของเส้นใยต่ำส่วนเส้นไหมที่ผ่านการตกแต่งเส้นใยไหมด้วยน้ำมีความแข็งแรงต่อแรงดึงของเส้นใยสภาพการคืนตัวของเส้นใยดีแต่สภาพการติดสีความคงทนของสีต่อการซักและความคงทนของสีต่อแสงแดดต่ำ สรุปได้ว่าน้ำขี้เถ้าตกตะกอนมีคุณสมบัติในการตกแต่งเส้นใยไหมคือ การลอกกาว การฟอกขาวและเป็นสารที่ช่วยในการติดสี (Aftertreatment)แต่จากเส้นใยไหมที่ผ่านกระบวนการลอกกาวด้วนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีสภาพการติดสีดี เพราะเส้นใยมีการลอกกาวเซลิเซนจึงมีการติดสีที่ดีขึ้น แต่เส้นใยที่ผ่านการลอกกาวด้วยน้ำไม่มีการหลุดออกของกาวเซลลิเซน จึงมีการติดสีต่ำ ความคงทนของสีต่อการซักและความคงทนของสีต่อแสงแดดจึงต่ำไปด้วย จากนั้นจึงนำคุณสมบัติทั้งหมดของน้ำขี้เถ้าตกตะกอนมาวิเคราะห์หาชนิดของสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการตกแต่งเส้นใยไหม คือ โซเดียมซิลิเกต โพแทสเซียมคาร์บอเนต ได้ทำการทดสอบพบว่าชนิดของสารเคมีในน้ำขี้เถ้าตกตะกอนคือโซเดียมซิลิเกต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทริกา คงรักช้าง
จารุพงษ์ น้อยตำแย
จิราภรณ์ กลางสาแม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 3 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ผ้าไหม
สารเคมี
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์