โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องThe Effects of Bisphenol A on the Life Cycle,Hatching Ability Rate and Egg-laying Ablility of Aedes aegvpti (ผลกระทบของสารไบฟีนอล เอ ต่อวงจรชีวิตอัตราการฟักตัว และอัตราการว่างไข่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • กฤตยา องคะเส

  • ธิรดา ด่านไพบูลย์

  • อัฑฒ์ ศกุนตนาคลาภ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพภาคเหนือตอนบน

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ยุงลายวงจรชีวิต

  • สารไบฟีนอล เอ

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นซึ่งมีอุณภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-28 องศาเซลซียส ทำให้สภาพอากาศของเมืองไทยเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาติตะวันตกจำนวนมากให้มาพักผ่อนในประเทศนี้ และด้วยสภาอากาศเช่นนี้เองก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ยุงเลือกที่จะแพร่พันธุ์ในเขตพื้นที่นี้ด้วย การทดลองทุกขั้นตอนได้จัดทำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จ.เชียงใหม่ ทางกลุ่มใส่ไข่ยุง Aedes aegypti 60 ฟองในภาชนะชุดควบคุมและชุดทดลองแต่ละใบที่มีสารละลายไบฟีนอล เอ ที่มีความเข้มข้นต่างกัน 5 ระดับ (1ppb, 0.5 ppb, 0.25 ppb, 0.125 ppb และ 0.0625 ppb) และน้ำประปา บันทึกข้อมูลจำนวนลูกน้ำที่ฟักจากไข่ ขนาดความยาวของลูกน้ำ จำนวนตัวโม่ง และจำนวนตัวเต็มวัยแยกเพศผู้เพศเมีย หลังจากที่ตัวโม่งเปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะถูกย้ายไปเลี้ยงในกรงที่ไม่มีน้ำโดยให้น้ำหวานเป็นอาหาร เป็นเวลา 5 วัน จากนั้นให้เลือดหนูแก่ยุงเพศเมียเป็นเวลาสองวัน ทำการสุ่มตัวอย่างยุงลายเพศเมีย 5 ตัว จากแต่ละความเข้มข้นนำไปใส่แยกไว้ในถ้วยกระดาษที่มีสำลีชุบน้ำหมาดและกระดาษกรอง ใส่น้ำในปริมาตรที่พอดีเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นเพื่อกระตุ่นให้ยุงวางไข่ โดยใช้เวลาสองวันสำหรับการวางไข่ของยุงลาย นับจำนวนไข่ยุงและหาค่าเฉลี่ยของจำนวนไข่ยุงจากยุงเพศเมียที่เลี้ยงในสารละลายเข้มข้นแตกต่างกัน โดยในการทำการศึกษาทดลองใช้เวลาตั้งแต่การฟักตัวจากไข่จนถึงการวางไข่ของยุงลายตัวเต็มวัยทั้งสิ้น 25 วัน ผลพบว่า ลูกน้ำกลุ่มที่ควบคุมที่เลี้ยงด้วยน้ำประปาธรรมดามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามปกติและมีขนาดปกติ ส่วนลูกน้ำที่เลี้ยงในสารละลายไบฟีนอล เอ มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าอย่างผิดปกติและมีขนาดใหญ่กว่าปกติ อัตราการวางไข่ของยุงลายที่เลี้ยงในสารละลายไบฟีนอล เอ (สารละลายความเข้มข้น 1 ppb มีค่าเฉลี่ยในการวางไข่ 59.60%) น้อยกว่ายุงลายกลุ่มควบคุมซึ่งมีค่าเฉลี่ยในการวางไข่สูงถึง 99.29% นอกจากนั้น โดยผลสรุปพบว่าไบฟีนอล เอ มีผลกระทบอย่างมากต่อวงจรชีวิต อัตราการฟักตัวแลอัตราการวางไข่ของยุงลาย Aedes aegypti ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้สารชนิดนี้ในทางที่เป็นประโยชชน์มากขึ้น