โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องอินดิเคเตอร์ผงจากธรรมชาติ

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศีกษาสมบัติการเปลี่ยนแปลงสีของพืชที่มีสีในสารละลายที่มีค่า pH 1 – 14 และสามารถแปรรูปเป็นผงอินดิเคเตอร์ได้ดี ซึ่งช่วยให้การนำไปใช้ได้ง่ายขึ้นและประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้อสารสังเคราะห์ที่มีราคาแพง จึงเริ่มต้นจากการคัดเลือกตัวทำลายที่เหมาะสมในการสกัดพืช โดยใช้เอทานอล 50 cm3 และน้ำ 50 cm3 สกัดสีของพืชจำนวน 100 กรัม โดยแบ่งสกัดด้วยตัวทำลายครั้งละ 10 cm3 จำนวนครั้ง 5 ครั้ง ผลปรากฏว่า แอลกอฮอล์สกัดสีของพืชได้เข้มข้นกว่า จากนั้นได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสีของพืชในสารละลาย pH1-14 โดยหยดสารสกัดจากพืชจำนวน 5 หยด ลงในสารละลาย pH1-14 โดยการใช้ตัวทำละลายที่ต่างกันพบว่าการเปลี่ยนแปลงสีไม่แตกต่างกัน จึงสรุปได้ว่าพืชที่มีการเปลี่ยนแปลงสีในช่วงแคบที่สุด และหลายช่วงเพื่อการนำมาทำเป็นอินดิเคเตอร์ผง ซึ่งได้แก่ ดอกเฟื่องฟ้า ดอกอัญชัญ ดอกเข็ม กะหล่ำปลีสีม่วง บีทรูท แต่จากการนำสารสกัดมาเพื่อทำเป็นผง พบว่า การทำผงโดยวิธี Freeze dry สารที่นำมาทำผงต้องสกัดจากน้ำ ถ้าใช้แอลกอฮลล์ จะทำให้มีขั้นตอนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเลือกทำผงโดยใช้น้ำเป็นตัวละลาย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ชิโณรส สุรางครัตน์

  • ปภาวรินทร์ สุขนันทฬส

  • อัชฌ บุญมาประเสริฐ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลายชนะการประกวดรางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพภาคเหนือตอนบน

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์