โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุปั้นเทียม

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดินปั้นที่มีคุณภาพดีและราคาถูก และยังเป็นการลดขยะให้กับชุมชน วัสดุที่ใช้ได้แก่ กระดาษ เส้นใยจากผักตบชวา เส้นใยจากเปลือกข้าวโพด ไร่ข้าวเจ้า เครื่องชั่ง และเครื่องอัดไฮลิก วิธีการทดลองโดย นำกระดาษมาฉีกเป็นชิ้นๆเล็ก แล้วแช่น้ำไว้ 2 คืน แล้วนำมาต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นนำกระดาษที่ผ่านการต้มมาปั่นให้ละเอียด แล้วนำผักตบชวามาต้มกับโซเดียมไฮดรอกไซด์เช่นเดียวกับกระดาษ สำหรับเปลือกข้าวโพดก็ทำเช่นเดียวกันกับกระดาษและผักตบชวา จากนั้นทำการฟอกเยื่อโดยการใช้คลอรีนต้มจนเยื่อขาว แล้วทำการล้างให้สะอาด จากนั้นนำเยื่อที่ได้ผสมกับดินสอพองและกาวลาเท็กซ์ นำไปทดสอบแรงดึง ทดลองปั้นดูความหนาแน่นและทำให้บางที่สุด เพื่อวัดความหนา ผลการทดลองพบว่า ภาชนะที่เหมาะสมในการเก็บดินปั้นที่ประดิษฐ์ขึ้นคือ ฟิล์มพลาสติก แต่ก่อนปั้นควรนำมาเติมน้ำเล็กน้อย โดยเมื่อพิจารณาจากผลงานที่ทำจากดินปั้นพบว่า สามารถปั้นชิ้นงานได้บาง จัดรูปทรงง่าย ทนต่อแรงกดทับและแรงดึง ไม่ขึ้นรา ไม่เปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ไม่เปลี่ยนคุณสมบัติเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป อีกทั้งยังมีราคาถูก และได้เพิ่มความเหนียวโดยใช้เส้นใยผักตบชวา สำหรับอัตราส่วนที่เหมาะสมในการเตรียมดินคือ พลาสติก 4 ส่วน ทินเนอร์ 14 ส่วน เส้นใยผักตบชวา 4 ส่วน และแป้งข้าวเหนียว 1 ส่วน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ธีรนันท์ เทพโพธิ์

  • สโรชา ชูช่วย

  • แสนพล เดี่ยวทิพย์สุคนธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • สุวารี พงศ์ธีระวรรณ

  • เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 ทั่วไป ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2543 10 ( ) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ดิน

  • ผักตบชวา

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์