โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องเจาะลึกหัวเครง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ยศวดี เชาวลิตรธำรง
รัตน์ชนะ แสงแก้ว
อรวรรณ อมรแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 1 สาขาชีวภาพ ภาคใต้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หัวเครงเป็นคำที่ชาวบ้านจังหวัดสุราษฎ์ธานีใช้เรียกรังของปลวกชนิดหนึ่ง โครงงานนี้เป็นการศึกษาหัวเครงโดยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่1ศึกษาลักษณะทางกายภาพของตัวเครง รังของเครง และศึกษาระบบนิเวศรอบๆแหล่งที่พบ จากการสำรวจพบว่า หัวเครงเป็นสัตว์ประเภทเดียวกับปลวก ภายในหัวเครงจะประกอบไปด้วยตัวเครงประเภทต่างๆ คือ ตัวผู้ ตัวเมีย ตัวเครงทหาร นางพญา ตัวอ่อน ไข่ และแมลงเหม่า(ตัวเต็มวัย) ซึ่งตัวเครงแต่ละประเภทจะมีลักษณะและหน้าที่แตกต่างกันออกไป หัวเครงจะมีระบบรังฐาน คือรังส่วนล่างที่อยู่ตรงพื้นดิน และจะมีทางเชื่อมที่มีดินปกปิดเป็นหลังคาคลุมเส้นทางไว้ตรงสู่รังหลักที่อยู่บนต้นไม้ ภายในรังจะไม่มีการจัดเป็นสัดส่วน แต่ทุกจุดจะเชื่อมถึงกัน โดยมีรูขนาดพอดีตัว เป็นตัวเชื่อมห้องใหญ่ให้ถึงกัน เครงจะกินไม้ที่ตายแล้วเป็นอาหาร เครงจะทำรังอยู่บริเวณต้นมะพร้าวและต้นยางพารา แต่รังที่มีขนาดใหญ่และมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าจะพบที่ต้นมะพร้าว ตอนที่ 2 ทดลองหาปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของเครง โดยทดลองหาวัสดุในการทำรัง ความเข้มแสง ปริมาณความชื้น และปฏิกิริยาต่อสิ่งแปลกปลอมของเครง จากการทดลองพบว่า สิ่งที่เหมาะสมในการทำรังของหัวเครง คือ ไม้ เพราะทนต่อสภาพอากาศได้ดี แสงที่เหมาะสมที่สุด คือ แสงแดดรำไร ความชื้นที่พอเหมาะนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลในการดำรงชีวิตของเครง และกลิ่นจากสารหอมระเหยจากสิ่งแปลกปลอม เช่นกระเทียมนั้นมีผลต่อประสาทสัมผัสของตัวเครง ซึ่งส่งผลให้ตัวเครงบางส่วนตาย