โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการจัดการกับน้ำทิ้งในนากุ้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนวัฒน์ มีรัตน์
ศรันย์ คัมภีร์ภัทร
อธิพงศ์ ด่านกุลชัย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุวารี พงศ์ธีระวรรณ
เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 10() p
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
คุณภาพน้ำ
หอย
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการปรับสภาพน้ำที่ปล่อยจากนากุ้งด้วยวิธีทางชีวภาพและเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่า แหล่งเก็บข้อมูลและทำการทดลองคือบริเวณอ่าวบ้านดอน ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการศึกษาคุณสมบัติของน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงกุ้งพบว่ามีปริมาณแพลงก์ตอนจำนวนมาก และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีไนเตรตปริมาณมากจากอาหารเลี้ยงกุ้ง และของเสียจากตัวกุ้งจึงทำให้น้ำในนากุ้งขุ่นและไม่สะอาด โดยทำการศึกษาคุณสมบัติของน้ำที่ทิ้งจากนากุ้งโดยตรวจหาค่า pH ,สารประกอบไนโตรเจนไนเตรต , ค่า DO, BOD และ FC การทดลองครั้งที่ 2 นำน้ำทิ้งจากนากุ้งมาใช้เลี้ยงหอยในฟาร์มหอยแล้วทำการทดสอบคุณสมบัติของน้ำที่ผ่านจากฟาร์มหอย โดยฟาร์มหอยประกอบด้วยหอย 2 ชนิดคือ หอยตะโกรม และหอยแครง จากการทดลองพบว่า น้ำทิ้งจากนากุ้งมีค่าของเสีย BOD, DO, FC อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน และมีแพลงก์ตอนอยู่เป็นจำนวนมากทำให้น้ำมีคุณภาพไม่ดี แต่เมื่อนำน้ำเหล่านี้ไปผ่านฟาร์มหอย พบว่าแพลงก์ตอนมีจำนวนลดลงและหอยสามารถเจริญเติบโตได้ดีเนื่องจากใช้แพลงก์ตอนเป็นอาหารโดยไม่ต้องให้อาหารอื่นเพิ่มเติมและน้ำที่ผ่านจากฟาร์มหอยมีคุณภาพดีขึ้น