โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาการคายดินของหอยแครง
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
นำหอยแครงที่มีขนาดเท่ากันมาล้างเปลือกให้สะอาด นำมาใส่ขวดโหล ขวดละ 20 ตัว จากนั้นนำน้ำใส่ลงไป 200 cm3 และเติมสารละลายของพืชชนิดต่าง ๆ คือ สารละลายจากกระเพราขาว สารละลายจากโหระพา สารละลายจากหัวหอมแดง สารละลายจากขิง สารละลายจากตะไคร้ จากสารละลายจากใบพลู สารละลายจากใบมะกรูด สารละลายจากมะระ ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 20 โดยมวล/ปริมาตร ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง จากนั้นสังเกตตะกอนของสารละลายที่แช่หอยแครงจะพบว่าขวดที่ใส่ "สารละลายจากตะไคร้" มีตะกอนดินออกมามาก เมื่อนำหอยไปต้มปรากฏว่าน้ำต้มของหอยที่แช่ "สารละลายจากตะไคร้" มีตะกอนน้อยที่สุด นำสารละลายจากตะไคร้ ความเข้มข้นร้อยละ 20 โดยมวล/ปริมาตร มาละลายกับน้ำในอัตราส่วนของสารละลายจากตะไคร้ : สารละลายทั้งหมด คือ อัตราส่วน 1 : 1, 2 : 4, 3 : 4, 1 : 4 หลังจากนั้นใส่หอยลงไปจำนวน 30 ตัวในแต่ละขวด ผลปรากฏว่าในขวดที่แช่หอยในอัตราส่วน 1 : 1 มีตะกอนดินออกมามากที่สุด เมื่อนำหอยจากแต่ละขวดโหลไปต้ม ผลคือ หอยที่แช่ในขวดโหลที่มีอัตราส่วน 1 : 1 มีตะกอนของดินออกมาน้อยที่สุด ดังนั้นสรุปได้ว่า หอยแครงที่แช่ในสารละลายตะไคร้ ในอัตราส่วน 1 : 1 ของสารละลายจากตะไคร้ : สารละลายทั้งหมด หอยจะมีการคายดินออกมามากที่สุด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิญญา สันติสกุลธรรม และคณะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลชมเชย การเกษตร ภาคใต้
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2538 6(16) p75
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
ตะไคร้
หอยแครง
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์