โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการลดความเค็มของดินโดยใช้พืชทะเล

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาดินโดยวิธีธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือชาวนากุ้งและชาวนาข้าว การทดลองศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการสำรวจพืชที่ขึ้นบริเวณดินเค็ม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการปลูกพืชบางชนิดที่ช่วยลดความเค็ม และขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณริมนากุ้ง ผลการศึกษาตอนที่ 1 พบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่ายเจริญเติบโตเร็ว จึงนำมาใช้ทำการทดลองดูดความเค็มของดิน เมื่อนำไปปลูกในปล้องบ่อ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร) 4 เดือน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมคือดินที่ไม่ปลูกพืชชนิดใดเลย ขณะปลูกตัดใบทิ้ง 2 ครั้ง ทดสอบและวิเคราะห์ดิน 2 วิธีคือ วิธีแรกทดสอบทางกายภาพได้ทำการเพาะเมล็ดข้าวในบีกเกอร์โดยใช้ดินจากกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองทุก ๆ 15 วัน วิธีที่ 2 ทดสอบทางเคมีโดยใช้ซิลเวอร์ไนเตรต ผลการทดลองพบว่าเมล็ดข้าวงอกในกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม แต่ไม่งอกในกลุ่มควบคุม และพบว่าในกลุ่มที่ปลูกผักบุ้งทะเลข้าวจะขึ้นได้ดีกว่ากลุ่มที่ปลูกถั่วทะเล สำหรับการใช้สารละลายซิลเวอร์ไนเตรตเมื่อผ่านไป 120 วัน ปริมาณเกลือในดินจะเหลือน้อยมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ปลูกผักบุ้งทะเลปริมาณเกลือจะเหลือน้อยที่สุด เมื่อนำพืชทั้ง 2 ชนิดไปปลูกในพื้นที่ริมนากุ้ง 120 วัน พบว่า มีต้นหญ้าขนาดเล็กขึ้นทั่วไป สรุปได้ว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลสามารถลดความเค็มของดินได้ และผักบุ้งทะเลจะมีประสิทธิภาพในการลดความเค็มได้ดีกว่าถั่วทะเล

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
  • ตาตั้ม มนตลักษณ์

  • รัชดาภรณ์ เพชรวงศ์

  • วรพงศ์ วงศ์วโรทัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
  • มาฆะ ทิพย์คีรี

  • วิมลศรี สุวรรณรัตน์

  • สมเกียรติ ล่องวิไล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรียาภัย

รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์

ม.ปลาย ชนะการประกวดรางวัลที่ 2 กำหนดหัวข้อ ภาคใต้

การตีพิมพ์ผลงาน

วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2541 11(32) p

คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
  • ความเค็ม การลด

  • ดิน

  • พืชทะเล

ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์