โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการศึกษาการทำน้ำส้มสายชูจากผลไม้พื้นบ้าน
- บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง"การศึกษาการทำน้ำส้มสายชูจากผลไม้พื้นบ้าน" ได้แนวความคิดจากการเรียน เรื่องการบริโภคน้ำส้มสายชูจริง น้ำส้มสายชูเทียม และอันตรายจากการบริโภคน้ำส้มสายชูเทียม ประกอบกับฤดูนี้เป็นฤดูที่มีผลไม้มากหลายชนิด จนบริโภคไม่ทันทำให้เกิดการเน่าเสีย คณะผู้จัดทำได้นำเอาผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้แก่ มะยม มะเฟือง กระท้อน กระทกรก และสับปะรด นำมาทำน้ำส้มสายชูโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทดสอบว่าผลไม้ชนิดใดสามารถทำน้ำส้มสายชูได้ดี โดยนำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมาบดให้ละเอียด แล้วนำไปต้มให้เดือดนาน 30 นาที จากนั้นทิ้งให้เย็นเติมเชื้อยีสต์ลงไปหมักทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่ากระท้อนสามารถนำมาทำเป็นน้ำส้มสายชูได้ดีที่สุด คือมีรสเปรี้ยววัดค่าความเป็นกรด-เบสได้ 3 (pH=3) รองลงมาคือกระทกรกและมะยมตามลำดับ การทำน้ำส้มสายชูจากผลไม้พื้นบ้านนี้สามารถช่วยเหลือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำส้มสายชูและสามารถใช้น้ำส้มสายชูนี้แทนมะนาวได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภาพร บัวแย้ม
สุมาลี แพทย์ศาสตร์
แสงเดือน ใจกล้า
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ม.ต้น ชนะการประกวดรางวัลชมเชย กำหนดหัวข้อ ภาคเหนือ
- การตีพิมพ์ผลงาน
วารสารบทคัดย่อการศึกษาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2540 9(25) p80
- คำสำคัญ (keywords) ของโครงงาน
น้ำส้มสายชู การทำ
ผลไม้
- ประเภทโครงงานวิทยาศาสตร์